การประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2554-2556) ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ไชยวุฒิ หลักฐาน
  • ดวงใจ พุทธวงศ์

คำสำคัญ:

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ชุมชน, องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จ, local administration, community, bansadet sub-district administration organization

บทคัดย่อ

      การประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2554-2556) ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินผลการดำเนินงาน และหาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสามปี 2554-2556 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร บุคลากร และประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของแผนสามปีจำนวน ๔๐คนผลการศึกษาพบว่า โครงการที่จัดขึ้นตามยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม/ชุมชน และการรักษาความ สงบเรียบร้อย ที่ปรากฏอยู่ในแผนการพัฒนาสามปี

      ด้านประสิทธิผล การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จ จัดทำประชาคมร่วมกับราษฎรในหมู่บ้าน เป็นประจำทุกปี เพื่อทราบปัญหา และนำความต้องการของประชาชนจัดลำดับปัญหา ความต้องการมากที่สุดไปถึงมีความต้องการน้อยที่สุด อันนำไปสู่เแผนพัฒนาสามปี ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จ

      ด้านประสิทธิภาพ มีการกำหนดมาตรฐานการให้บริการไว้เป็นแนวทาง ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพประกอบด้วยตัวชี้วัด 4 ประการ คือ สัดส่วนผลผลิตต่อค่าใช้จ่าย ผลิตภาพต่อกำลังคน ผลิตภาพต่อหน่วยเวลาและการประหยัดทรัพยากรในด้านของ การจัดการได้มีการจัดสรรงบประมาณ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้และมีความสอดคล้องเหมาะสมกับ รายรับขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จ เป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยอาจแยกประเภทของโครงการดังนี้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จดำเนินการเอง โครงการที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จร่วม อุดหนุนให้หน่วยงานอื่นและโครงการที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสด็จ ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น

      ด้านความพอเพียง การดำเนินงานตามแผนพัฒนาสามปี สามารถตอบสนองความต้องการ หรือแก้ไขปัญหาของประชาชน และชุมชนโดยการสนันสนุนงบประมาณจากภาครัฐ

      ด้านความเป็นธรรม การดำเนินงานตามแผนพัฒนาสามปีไม่สามารถกระจายให้ทั่วถึงประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากตำบลบ้านเสด็จ มีหมู่บ้านถึง 17 หมู่บ้าน มีสภาพความต้องการและปัญหาของประชาชนที่แตกต่างกันและรอการแก้ไขเป็นจำนวนมาก มีระบบตรวจสอบการดำเนินงานตามแผน ชุมชนมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการติดตามและประเมินผล และมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมตามแผนงาน/โครงการเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ทราบ

      ด้านความเสมอภาค มีการกำหนดเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย และผู้ได้รับผลประโยชน์จากการจัดกิจกรรม/โครงการจากสภาพปัญหา ความต้องการที่เรียงลำดับตามความจำเป็นของชุมชน มีกระบวนการจัดสรรงบประมาณให้กระจายลงสู่ประชาชน /ชุมชน/หมู่บ้าน ที่เหมาะสม ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ตามขนาดของหมู่บ้านและจำนวนของประชากร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2015