การประเมินการเป็ นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ธัญญารัตน์ ศรุตาพงศ์ปกรณ์
  • ธนวิทย์ บุตรอุดม

คำสำคัญ:

การประเมิน, ระบบการเรียนรู้, องค์การแห่งการเรียนรู้, เทศบาลเมืองเขลางค์นคร, assessment, learning system, learning organization, Mueang Khelang Nakhon Municipality

บทคัดย่อ

      การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้ทฤษฎีองค์การแห่งการเรียนรู้ของมาร์ควอร์ท (Marquardt) ประกอบด้วย 5 ระบบ คือ 1) ระบบการเรียนรู้ 2) ระบบองค์การ 3) ระบบสมาชิก4) ระบบความรู้ และ 5) ระบบเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ บุคลากรในเทศบาลเมืองเขลางค์นคร จำนวน 12 คน จำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าฝ่าย และบุคลากรระดับปฏิบัติงานเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบ สัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ความเรียงจากแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

      ผลการศึกษาด้านระบบการเรียนรู้ พบว่า บุคลากรในเทศบาลเมืองเขลางค์นคร มีการทบทวนและแสวงหาองค์ความรู้อยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงานการประกอบวิชาชีพและการเลื่อนระดับของตนเอง โดยทุกเดือนมีการประชุมปรึกษาหารือ วางแผนดำเนินการและแก้ไขปัญหาร่วมกันภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงาน โดยการอบรมบุคลากร ให้ความรู้อยู่ตลอดเวลา ทั้งในและนอกพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

      ผลการศึกษาด้านระบบองค์การ พบว่า เทศบาลเมืองเขลางค์นคร มีการกำหนด ให้บุคลากรทำงานร่วมกันอย่างมีแบบแผน มีการกำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยมร่วมและพันธกิจขององค์การ ในการปฏิบัติงานเพื่อให้องค์การมุ่งไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามเป้ าหมายไว้อย่างชัดเจน มีการทำงานที่มุ่งเน้นคุณภาพ การใช้กลยุทธ์สนับสนุนการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศที่ดีซึ่งเป็นการสร้างให้องค์การเป็นองค์การที่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องผลการศึกษาด้านระบบสมาชิก พบว่า บุคลากรของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร มีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนถ่ายทอดข้อมูลในระหว่างกันและกัน ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนา และช่วยให้แต่ละคนสามารถแสดงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาได้อย่างเต็มที่

      ผลการศึกษาด้านระบบความรู้ พบว่า บุคคลกรทุกระดับในเทศบาลเมืองเขลางค์นคร มีการค้นคว้าแสวงหาองค์ความรู้อยู่เสมอโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ ซึ่งมีการแสวงหาความรู้มีรูปแบบเป็ นทางการ มีการสร้างความรู้ร่วมกันทั้งจากทักษะที่ตนเองปฏิบัติงานอยู่ มีการจัดเก็บความรู้อย่างมีระบบ ด้วยการประมวลผลข้อมูลระบบสารสนเทศ และมีการแบ่งปันความรู้และถ่ายโอนความรู้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติงานในภาพรวมขององค์การอย่างต่อเนื่อง ทำให้บุคลากรและทีมงานได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและทีมงาน

      ผลการศึกษาด้านระบบเทคโนโลยี พบว่า ผู้บริหารของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร มีการส่งเสริมให้บุคลากรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน โดยให้ทุกหน่วยราชการมีเครื่องมือทางข้อมูลต่างๆ เช่นคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต ส่งข้อมูลทางอีเมล์ (E-mail) และ E-office เพื่อให้บุคลากรได้มีการเรียนรู้ในการสื่อสารข้อมูลเป็นแนวทางทำให้เกิดกลยุทธ์ใหม่ในการเรียนรู้และรวดเร็วในการรายงานผลการปฏิบัติรวมทั้งเผยแพร่การทำงานของบุคลากรให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงและเข้าใจการทำงานของบุคลากรมากยิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2015