ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
คำสำคัญ:
ขวัญกำลังใจ, ปัจจัยกระตุ้น, ปัจจัยค้ำจุน, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, moral, maintenance factors, hygiene factors, cabin attendantบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 358 คนใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่น0.953 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การทดสอบค่าความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดีของฟิเชอร์ และค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์พหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชั้นหนึ่งบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ คือ ด้านความผูกพันกับองค์การ ด้านความสามัคคี และด้านเจตคติในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ 2. พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชั้นหนึ่ง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่เพศ อายุสถานภาพทางครอบครัว ระดับการศึกษา และรายได้ ต่างกัน มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานไม่แตกต่างกัน สำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชั้นหนึ่ง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ระดับปัจจัยที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชั้นหนึ่ง บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) พบว่า ปัจจัยกระตุ้นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความสำคัญมาก ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน และด้านความรับผิดชอบ ส่วนด้านการยอมรับนับถือด้านลักษณะของงานที่ทำและด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยค้ำจุนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความสำคัญในระดับปานกลางเรียงตามลำดับดังนี้ คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านเงินเดือน และด้านนโยบายและการบริหาร ตามลำดับ 4. ปัจจัยกระตุ้นทั้ง 5 ด้านคือ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ทำ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและปัจจัยค้ำจุนทั้ง 4 ด้านคือ ด้านเงินเดือน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรและด้านการปกครองบังคับบัญชา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชั้นหนึ่ง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สำหรับผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยจะนำไปเสนอแนะให้ผู้บริหารบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เพื่อเป็นแนวทางในการตอบสนองต่อปัจจัยที่มีต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชั้นหนึ่ง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง