การประเมินโครงการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพ ประสิทธิภาพ สมรรถนะ ความเข้มแข็งขององค์กรรถม้าจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การบริหารองค์กร, ศักยภาพ, สมรรถนะ, ประเมินผล, องค์กรรถม้าลำปางบทคัดย่อ
การประเมินโครงการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพ ประสิทธิภาพ สมรรถนะ ความเข้มแข็งขององค์กร รถม้าจังหวัดลำปาง นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามประเมินโครงการฯและเพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่อการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ การศึกษาครั้งเป็นการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบจำลอง CIPP Model (CIPP Evaluation Model) ที่ประกอบด้วยสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ของโครงการ 4 ประเด็นคือการจัดฝึกอบรมภาษาอังกฤษแก่สมาชิกองค์กรรถม้าจังหวัดลำปาง 2) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมความสะอาดพื้นที่สถานีรถม้า 3)การดูแลสุขภาพม้า และ4) การรักษาเอกลักษณ์ที่เหมาะสมของรถม้าลำปางกลุ่มตัวอย่างคือคณะกรรมการและสมาชิกสมาคมรถม้าจังหวัดลำปาง จำนวน 84 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย (xˉ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์และการวิเคราะห์ความเรียงวิเคราะห์เชิงพรรณนาแยกประเด็นผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมพบว่า โครงการฯมีความจำเป็นและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและ ความต้องการของสมาคมรถม้าลำปาง ในการสร้างความเข้าใจเพื่อให้องค์กรรถม้าลำปาง มีเอกภาพ ศักยภาพประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตนเองในเชิงรุกโดยมีหน่วยงานของราชการและเอกชนให้การสนับสนุนสารถี และครอบครัวรถม้าให้กระตือรือร้น ที่จะร่วมคิด ร่วมกันดูแลสุขภาพม้า และสถานีรถม้า
ด้านปัจจัยนำเข้าพบว่าการสนับสนุนโครงการฯ ของเทศบาลนครลำปาง ทำให้เกิดการดูแลความสะอาด ของสถานีรถม้าการดูแลสุขภาพม้า และการสืบทอดเพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์ของรถม้าลำปาง ขณะที่การจัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดให้มีการอบรมภาษาอังกฤษ ต้องการให้สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากส่วนใหญ่นั้น มีการศึกษาในระดับมัธยมต้นและจะช่วยกระตุ้นให้คนขับรถม้าและผู้ประกอบการได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว
ด้านกระบวนการโดยภาพรวม พบว่าผู้รับผิดชอบโครงการ มีการวางแผนดำเนินงานตามโครงการอย่าง เป็นระบบ ทำให้ฝึกอบรมภาษาอังกฤษและสื่อสารได้ดียิ่งขึ้นและพบว่า มีการวางแผนการดำเนินงาน และดำเนินงานตามแผนโครงการโดยประสานงานให้ทุกภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาให้รถม้าจังหวัดลำปาง เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมที่จะต้องอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่คู่ลำปาง
ด้านผลผลิต พบว่า สมาชิกองค์กรรถม้าผู้เข้ารับการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อบริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติสามารถนำไปใช้สื่อสารได้จริงขณะที่ประเด็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมความสะอาดในพื้นที่สถานีรถม้า,การดูแลสุขภาพม้า,การรักษาเอกลักษณ์ที่เหมาะสมของรถม้าลำปางจากการสนทนากลุ่มพบว่า โครงการนี้ ได้สร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดยเฉพาะปัญหาภายในแต่ก่อนที่เกิดความไม่เป็นเอกภาพของสารถีรถม้านั้น ภายในกลุ่มได้มีการพูดจากันเพื่อที่จะร่วมกันแก้ไขโดยเห็นพ้องกันว่า ทุกคนเสมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกัน และพบว่า ภายหลังที่สมาชิกองค์กรรถม้าได้เข้าร่วมโครงการฯทำให้เกิดความสามัคคีกันมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เกิดการปรับตัว ด้วยการสร้างความร่วมมือภายในกลุ่ม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง