การประเมินโครงการฝึกวิชาชีพสำหรับทหารกองประจำการ มณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
โครงการ, การประเมินโครงการฝึกวิชาชีพ, ทหารกองประจำการ, Project, program evaluation, professional training, royal.บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการฝึกวิชาชีพสำหรับทหารกองประจำการมณฑลทหารบก ที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง (CIPP Model) ผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วย ทหารกองประจำการ สังกัดกองบังคับการมณฑลทหารบกที่ 32 และผู้บริหารโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 120 คน โดยใช้การสัมภาษณ์ (Interview) ร่วมกับเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้แก่ ร้อยละ (Percentage) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ระดับ ความคิดเห็น ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการศึกษาพบว่า
ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) โครงการมีหลักการและวัตถุประสงค์มีความสอดคล้องกัน สามารถตอบสนองนโยบาย ของกระทรวงกลาโหม บรรลุวัตถุประสงค์ทุกอาชีพ มีการกำหนดเป้าหมาย วิธีการดำเนินงานเหมาะสม สามารถปฏิบัติได้จริง เล็งเห็นความต้องการของผู้ฝึกวิชาชีพ ผู้ฝึกอาชีพมีความรู้ มีทักษะในการประกอบอาชีพ และผู้ฝึกอาชีพ สามารถนำความรู้ ทักษะไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว มีความคิดเห็นเห็นด้วยมาก ด้านปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยนำเข้า (Input) ผลการศึกษาพบว่า ครูผู้สอน วัสดุ อุปกรณ์ที่มียังไม่ค่อยเพียงพอต่อความต้องการของทหารที่เข้าร่วมโครงการ อาคารสถานที่มีความเหมาะสมต่อการฝึกวิชาชีพ มีสื่อการเรียน การสอนเกี่ยวกับการฝึกอาชีพ มีความคิดเห็น เห็นด้วยมาก ด้านกระบวนการ (Process) ผลการศึกษาพบว่า การสำรวจข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการ ประชุมวางแผนก่อนดำเนินโครงการ ดำเนินการตามองค์ประกอบอย่างต่อเนื่องและครบทุกองค์ประกอบ นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานตามแผน มีการประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ทำการประเมินโครงการหลังจากการสิ้นสุดการฝึกอาชีพเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ แต่บางครั้งได้รับความร่วมมือน้อยในการตอบแบบสอบถาม หรือจากการสำรวจมีความคิดเห็น เห็นด้วยมาก ด้านผลผลิต (Product) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ฝึกอาชีพ นำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพได้ ผู้ฝึกอาชีพมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสามารถนำความรู้ที่ได้ไปฝึกทำให้เกิดชำนาญจนสามารถไปประกอบอาชีพได้ หรืออีกทางหนึ่งคือสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ในครัวเรือน ผู้ฝึกอาชีพนำความรู้ ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ผู้อื่น นำความรู้ที่ได้ไปช่วยเหลือประชาชน นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาหน่วยงาน มีความคิดเห็น เห็นด้วยมากDownloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง