การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างและการใช้คำกริยาในภาษาจีนและภาษาไทย

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร กองเส็ง

คำสำคัญ:

โครงสร้าง, คำกริยา, ภาษาจีน, ภาษาไทย,

บทคัดย่อ

          “คำกริยา” เป็นคำที่แสดงถึงการกระทำหรือการเปลี่ยนแปลง และยังเป็นคำที่มีความหมายแสดงถึงความเป็นไปได้ ความจำเป็นหรือความมุ่งหวังรวมถึงทิศทางของการกระทำ เป็นต้น คำกริยาในแต่ละภาษานั้นอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของแต่ละภาษา เช่น กาล มาลา วาจก เป็นต้น ภาษาไทยและภาษาจีนล้วนเป็นภาษาในตระกูลฮั่น-ทิเบต ฉะนั้น ภาษาทั้งสองจึงมีรูปแบบวิธีการใช้ที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน เช่น ไวยากรณ์หรือตัวอักษร รายงานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างและการใช้ที่คล้ายคลึงกันและแตกต่างของกริยาในภาษาจีนและภาษาไทย โดยศึกษา “คำกริยาพยางค์เดียว” คำกริยาที่มีโครงสร้างแบบ “กริยา-กริยา” และ” คำกริยาที่มีโครงสร้างแบบ “กริยา-กรรม” ทั้งนี้เพื่อให้เห็นข้อแตกต่าง เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันของโครงสร้างและการใช้คำกริยาของภาษาจีนและภาษาไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของชาวไทยที่เรียนภาษาจีนและชาวจีนที่เรียนภาษาไทย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2016