การพัฒนาสื่อสังคมตามแนวคิดออต้าโมเดลเพื่อสร้างเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
สื่อสังคม, แนวคิดออต้าโมเดล, ทักษะความคิดสร้างสรรค์,บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อสังคมตามแนวคิดออต้าโมเดล เรื่อง การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อสร้างเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีให้มีคุณภาพพร้อมทั้งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยสื่อสังคมตามแนวคิดออต้าโมเดล เรื่องการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยสื่อสังคมตามแนวคิดออต้าโมเดล เรื่องการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) มา 1 ห้องเรียน ได้จํานวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) สื่อสังคมตามแนวคิดออต้าโมเดลเพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์สําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อสังคมตามแนวคิดออต้าโมเดลสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3) แบบวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์สําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสื่อสังคมตามแนวคิดออต้าโมเดล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s.d.) และ dependent t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อสังคมตามแนวคิดออต้าโมเดลเพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ สําหรับนักศึกษา มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (=4.51) และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.41/80.95 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ที่กําหนดไว้ 2) คะแนนทดสอบความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนของนักศึกษาจากการเรียนผ่านสื่อสังคมตามแนวคิด ออต้าโมเดลสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนผ่านสื่อสังคมตามแนวคิดออต้าโมเดลอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (=4.54)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง