การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • กัญญาวีร์ ชายเรียน Naresuan University
  • สุริศักดิ์ ประสานพันธ์
  • วารีรัตน์ แก้วอุไร

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ชีววิทยา, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา, problem-based learning instructional model, biology, constructivist, problem-solving thinking ability.

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ 1. เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ 2. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย  2 ขั้นตอน คือ 1. สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และนำไปทดลองนำร่องกับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 40 คน
.2. ทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนโรงเรียนพรหมพิรามวิทยา จำนวน 35 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ใช้เวลาทดลอง 21 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test Dependent, One-sample t-test    

     ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ พบว่า 1.1) รูปแบบที่พัฒนาขึ้น  คือ รูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มี 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล  กิจกรรมการเรียนการสอนมี 5 ขั้น (5S) คือ  ขั้นเชื่อมโยงและระบุปัญหาให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา  ขั้นกำหนดกรอบแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้
ด้วยการไตร่ตรอง  ขั้นศึกษาค้นคว้าและลงมือแก้ปัญหาตามแนวทางแก้ปัญหา  ขั้นสรุปโครงสร้างใหม่ทางปัญญาและประเมินค่าคำตอบ  ขั้นนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.55) 1.2) รูปแบบมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.7001  2. ผลการทดลองใช้รูปแบบ  พบว่า 2.1) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี  และหลังเรียนภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก 2.2) นักเรียนมีความสามารถในการ
คิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2016