การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะ ตามหลักการเรียนรู้แบบรับใช้สังคมสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • สมปอง ช่วยพรม Naresuan University
  • วารีรัตน์ แก้วอุไร

คำสำคัญ:

รูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะ, หลักการเรียนรู้แบบรับใช้สังคม, Activities Model to Enhance Public Mind, Public Mind, Service Learning.

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ คือ 1) สร้างและหาคุณภาพของรูปแบบกิจกรรมเสริมสร้าง                  จิตสาธารณะตามหลักการเรียนรู้แบบรับใช้สังคม  สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดย  1.1  ศึกษาคุณลักษณะและแนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะ 1.2 สร้างรูปแบบ และ 1.3 ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ 2) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบโดย 2.1 เปรียบเทียบคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน     และ 2.2  ศึกษาพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของนักเรียนหลังเรียน ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา  2  ขั้นตอน  ขั้นที่ 1 สร้างและหาคุณภาพของ ขั้นที่ 2 ศึกษาผลการทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา      ปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเกาะนอก(ประชานุเคราะห์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1           ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559  1 ห้องเรียน  มี 28 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือ  คือ 1) รูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักการเรียนรู้แบบรับใช้สังคม             2) แบบวัดจิตสาธารณะ และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะ

                 ผลการวิจัย 1) การสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบ พบว่า 1.1 คุณลักษณะจิตสาธารณะสำหรับ    นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มี 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) ด้านการใช้ 2) ด้านการถือเป็นหน้าที่ 3)  ด้านการ     เคารพสิทธิ์ และ 4) ด้านการปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และแนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะ คือ จัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงปัญหาจากชีวิตจริงในชุมชนของตน ซึ่งได้จากการวิเคราะห์  สำรวจและนำมา   สู่การลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริงด้วยการรับใช้สังคมที่เชื่อมโยงจากหลักการและวัตถุประสงค์ของรูปแบบนำไปสู่การเกิดคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะ 1.2 รูปแบบกิจกรรม มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการหรือแนวคิดพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4)  กิจกรรมการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล  กิจกรรมการเรียนรู้ได้แก่     1.เตรียมการ 2. ดำเนินการ 3. สะท้อนกลับ และ 4.เฉลิมฉลอง  1.3 ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ   โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และการนำรูปแบบไปทดลองนำร่อง พบว่า มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ 2) การทดลองใช้รูปแบบ พบว่า 2.1 นักเรียนมีคุณลักษณะจิตสาธารณะ    ทุกด้านโดยรวมหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   2.2  นักเรียนมีพฤติกรรม   การมีจิตสาธารณะหลังเรียนในภาพรวม อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม  

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2016