ความหมายของ “อภิเษก” ในพระพุทธศาสนาตันตรวัชรยาน

ผู้แต่ง

  • สุดาพร เขียวงามดี

คำสำคัญ:

อภิเษกตันตระพระไตรปิฎก

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และตีความความหมายของ “อภิเษก”ที่ปรากฏในนิกายตันตรวัชรยาน และศึกษาเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ทางด้านภาษาของคำว่า “อภิเษก” ในคัมภีร์ต่างๆทางพระพุทธศาสนา

     ผลการวิจัยพบว่า อภิเษก (abhiṣeka) เป็นคำสันสกฤตที่แปลความหมายตามพยัญชนะว่า “การรดน้ำที่ยิ่งใหญ่” หมายถึง การทำพิธีศักดิ์สิทธิ์โดยใช้น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการทำพิธีกรรม เช่น พิธีเจริญน้ำพระพุทธมนต์  พิธีราชาภิเษก พิธีอภิเษกสมรส  พิธีพุทธาภิเษก  เป็นต้น  ในคัมภีร์พระไตรปิฎกส่วนใหญ่จะพบความหมายของ “อภิเษก”ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการอภิเษกสมรสของเชื้อพระวงศ์ และการแต่งตั้งกษัตริย์ เช่น คำว่า ราชาภิเษก หรือมูรธาภิเษก แต่ก็มีบางบริบทที่ให้ความหมายในเชิงปรัชญา เช่น คำว่า อภิเษกตนเอง  ส่วนพุทธาภิเษกยังไม่ใช่พิธีกรรมที่มีขึ้นในยุคสมัยเถรวาทดั้งเดิมเนื่องจากไม่ปรากฏคำนี้ในพระไตรปิฎก  แต่พุทธาภิเษกได้รับอิทธิพลมาจากพิธีกรรมนิกายตันตระ โดยเริ่มต้นจากอภิเษกในแนวคิดของยุคนิกายมหายาน หมายถึงการแต่งตั้ง  คือ พระโพธิสัตว์ได้รับการอภิเษกจากพระพุทธเจ้า  ต่อมาในยุคของคัมภีร์ตันตระวัชรยานปรากฏความหมายที่เปลี่ยนไปว่า ลูกศิษย์ได้รับการอภิเษกจากอาจารย์  และการฝึกปฏิบัติตามพิธีกรรมตามแบบฉบับในนิกายของตันตระ คือ การสร้างภาพพระพุทธเจ้าที่อยู่ในมณฑลให้เกิดขึ้นในตัวเองจนเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธะ  ส่วนลูกศิษย์ที่รอการอภิเษกจากอาจารย์เปรียบเสมือนพระโพธิสัตว์และเทพทั้งหลาย  กล่าวโดยสรุป การอภิเษกของตันตระจึงหมายถึงการแต่งตั้งหรือมอบอำนาจให้แก่ศิษย์  ส่วนประกอบอื่นในการทำพิธีอภิเษกของตันตระ อย่างเช่น การทำน้ำมนต์ การสวดมนต์คาถา การปลุกเสกสิ่งของก็ล้วนแล้วแต่ส่งอิทธิพลมาสู่พระพุทธศาสนาในสังคมไทยแทบทั้งสิ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2016