การเสริมสร้างภาวะผู้นำชุมชนในการพัฒนาและถ่ายทอดภูมิปัญญา ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาบ้านเมืองงาย ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ชนันธร บัวสุข
  • ชวิศ จิตรวิจารณ์
  • มนัส สุวรรณ
  • สมาน ฟูแสง

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างภาวะผู้นำชุมชน, การพัฒนาและถ่ายทอดภูมิปัญญา การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน,

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทในการจัดการทรัพยากรน้ำ ภูมิปัญญาดั้งเดิมและภูมิปัญญาสมัยใหม่ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ 2) เพื่อบูรณาการภูมิปัญญาดั้งเดิมและภูมิปัญญาสมัยใหม่ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ 3) เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำชุมชนในการจัดการทรัพยากรน้ำและการถ่ายทอดภูมิปัญญา เป็นการวิจัยเชิงบรรยายกลุ่มตัวอย่างได้แก่ สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำในตำบลเมืองงายจากการเทียบจากตารางสำเร็จรูป กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลภายในชุมชนได้แก่ ผู้นำที่เป็นทางการ ประกอบด้วย ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำที่ไม่เป็นทางการประกอบด้วย ผู้นำกลุ่มผู้ใช้น้ำ ปราชญ์ชุมชน ผู้อาวุโส และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภายนอกชุมชน ได้แก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ชลประทาน เจ้าหน้าที่หน่วยจัดการต้นน้ำแม่งาย และเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสำรวจโดยใช้เทคนิค participatory rural appraisal (PRA) การสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเจาะจง การจัดการความรู้ การประเมินรูปแบบภูมิปัญญาร่วมสมัย เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบบสำรวจความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1)ชุมชนมีการจัดการทรัพยากรน้ำโดยใช้ระบบเหมืองฝายซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมและมีคณะกรรมการเหมืองฝายทำหน้าที่บริหารจัดการ และการจัดการทรัพยากรน้ำชลประทานตามหลักวิชาการซึ่งเป็นภูมิปัญญาสมัยใหม่มีคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำทำหน้าที่บริหารจัดการ 2)การบูรณาการภูมิปัญญาดั้งเดิมและภูมิปัญญาสมัยใหม่เป็นภูมิปัญญาร่วมสมัยมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพบริบทคือ ระบบการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ 3)ภาวะผู้นำที่ดีและมีประสิทธิภาพในการพัฒนาและถ่ายทอดภูมิปัญญา ประกอบด้วย ส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน สนับสนุนให้สมาชิกเข้าไปมีส่วนร่วมตลอดถึงผลักดันให้มีเครือข่ายลุ่มน้ำเดียวกัน ใช้หลักธรรมาภิบาลในบริหารจัดการ และยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาและประยุกต์ให้มีความเหมาะสมกับบริบท โดยกิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้นำชุมชน (ผู้นำกลุ่มผู้ใช้น้ำ) ประกอบด้วย การบอกกล่าว การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติร่วมกัน การสาธิต การใช้แหล่งเรียนรู้ และการศึกษาดูงาน สร้างความพึงพอใจแก่สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

31-12-2016