ประสิทธิผลของการสร้างการจดจำ ต่อการสื่อสารการตลาด ในการสร้างการจดจำด้วยตุ๊กตาสัญลักษณ์ กับบุคคลที่มีชื่อเสียง

ผู้แต่ง

  • อิสรี ไพเราะ อาจารย์ กลุ่มสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา http://orcid.org/0000-0002-8369-8584

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาด, การจดจำตราสัญลักษณ์, ตุ๊กตาสัญลักษณ์, บุคคลที่มีชื่อเสียง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการสื่อสารการตลาดที่มีผลจากการสร้างการจดจำตราสัญลักษณ์ด้วยตุ๊กตาสัญลักษณ์และบุคคลที่มีชื่อเสียง และเพื่อเปรียบเทียบการสื่อสารการตลาดในการสร้างการจดจำตราสัญลักษณ์ระหว่างตุ๊กตาสัญลักษณ์กับบุคคลที่มีชื่อเสียง การศึกษาเชิงปริมาณได้ถูกนำมาใช้โดยกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) จากประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 เขต เขตละ 8 คน จากแบบสอบถามจำนวน 400 ชุดที่เก็บข้อมูลมานั้น มีจำนวน 343 ชุดที่สามารถนำข้อมูลมาประมวลผลได้ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ใช้ในการวัดค่าของตัวแปร จำนวน 5 ตัวแปร คือ (1) ความน่าเชื่อถือของตุ๊กตาสัญลักษณ์กับบุคคลที่มีชื่อเสียง, (2) การรับรู้ผลการสื่อสารการตลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ, (3) การจดจำของกลุ่ม, (4) ผลการสื่อสารการตลาดด้วยตุ๊กตาสัญลักษณ์กับบุคคลที่มีชื่อเสียง, และ (5) ข้อมูลทั่วไปทางประชากรศาสตร์นอกจากนี้ตัวแปร 5 ตัวในแบบสอบถามนี้ ผู้วิจัยยังวัดอีก 1 ตัวแปร คือ และ (6) ชื่อเสียงที่แท้จริงของตุ๊กตาสัญลักษณ์กับบุคคลที่มีชื่อเสียงโดยใช้ Coders เป็นผู้ประเมิน จากข้อมูลข้างต้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่าความน่าเชื่อถือของตุ๊กตาสัญลักษณ์ กับบุคคลที่มีชื่อเสียงมีผลกับการจดจำของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายซึ่งมีผลต่อตัวแปรตาม คือการสื่อสารการตลาดด้วยตุ๊กตาสัญลักษณ์กับบุคคลที่มีชื่อเสียง งานวิจัยในอนาคตควรศึกษาตัวแปรอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น การรับรู้คุณค่าผลิตภีณฑ์ และการรับรู้ความคล้ายคลึงระหว่างตนเองกับบุคคลที่อยู่ในโฆษณา

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2017