การเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีบุตรติดเกมออนไลน์ โดยการใช้รูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์

ผู้แต่ง

  • พิชชา ถนอมเสียง Lampang Rajabhat University
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล
  • ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์

คำสำคัญ:

การปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์, การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว, การติดเกมออนไลน์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีบุตรติดเกมออนไลน์ และพัฒนารูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีบุตรติดเกมออนไลน์ รวมทั้งศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีบุตรติดเกมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 ที่ใช้ในการศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว ประกอบด้วยพ่อ แม่ และบุตร ซึ่งบุตรมีอายุอยู่ระหว่าง 11-15 ปี ที่มีภูมิลำเนาในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 400 ครอบครัว กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 จำนวน 20 ครอบครัว สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับการเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว โดยการใช้รูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์ เป็นรายครอบครัว ครอบครัวละ 10 ครั้งๆ ละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีบุตร ติดเกมออนไลน์ และรูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

          ผลการวิจัย พบว่า (1) การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.72 S.D = 1.10) องค์ประกอบการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวในทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 2.86 รองลงมาคือ ด้านความผูกพันทางอารมณ์ ด้านการตอบสนองทางอารมณ์ ด้านบทบาท ด้านการควบคุมพฤติกรรม และด้านการแก้ไขปัญหา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.80, 2.79, 2.67, 2.66 และ2.53 ตามลำดับ (2) รูปแบบการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์เพื่อการเสริมสร้างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวที่มีบุตรติดเกมออนไลน์ พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีและเทคนิคต่างๆ ของทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์ โดยขั้นตอนการปรึกษาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป (3) การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวกลุ่มทดลอง หลังการเข้าร่วมการให้การปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์และหลังการติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวกลุ่มทดลอง หลังการเข้าร่วมการให้การปรึกษาครอบครัวเชิงกลยุทธ์และหลังการติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Author Biography

พิชชา ถนอมเสียง, Lampang Rajabhat University

faculty of education

References

ชาญวิทย์ พรนภดล. (2556). บทวิเคราะห์งานวิจัยสถานการณ์เด็กติดเกม. วันที่สืบค้นข้อมูล 10 มกราคม 2559,

เข้าถึงได้จาก http://healthygamer.net/download/academic.

ชาญวิทย์ พรนภดล, ศิริสุดา ลดาวัลย์ ณ อยุธยา, ตวงพร สุรพงษ์พิวัฒนะ, ชดาพิมพ์ ศศลักษณานนท์ และปาฏิโมกข์ พรหมช่วย. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาหาปัจจัยป้องกันการติดเกมในเด็กและวัยรุ่น. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชาญวิทย์ พรนภดล และ เอษรา วสุพันธ์ธจิต. (2558). จิตเวช ศิริราช DSM-5 (พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:

มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประกายเพชร สุภะเกษ, สุธรรม นันทมงคลชัย และมัณฑนา ดำรงศักดิ์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารสาธารณสุข, 42, 65-75.

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2554). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษาครอบครัว. ใน แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา หน่วยที่ 8-15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. ( 2558). การปรึกษาครอบครัว family counseling. ชลบุรี: เนติการพิมพ์.

ภีรวัฒน์ นนทะโชติ, ภทรพร ยุทธาภรณ์พินิจ และทยณัฐ ชวนไชยสิทธิ์. (2552). ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการติดเกมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 22, 123-136.

มุสลินท์ โต๊ะกานิ. (2555). การทำหน้าที่ครอบครัวและพฤติกรรมเกเรที่มีผลต่อการติดเกมคอมพิวเตอร์ของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้.วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 8, 75-89.

สุภาวดี เจริญวานิช. (2557). พฤติกรรมการติดเกม: ผลกระทบและการป้องกัน. วารสารวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี, 22(6), 871-879.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2556. เข้าถึงได้จาก http://www.etda.or.th/internetuserprofile2013/TH_InternetUserProfile2013.pdf

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัว.

Chroenwanit, S., & Sumneangsanor, T. (2014). Predictors of game addiction in Children and adolescent. Thammasat review, 17, 150-166.

Epstein, N. B., Bishop, D. S. & Levin, S. The McMaster Model of Family Functioning: Journal of Marriage and Family Counseling, 1978, 4, 19-31.

Goldenberg, Herbert, & Goldenberg, Irene. (2013). Family Therapy: An overview (8thed.). U.S.A.:

Thomson Brooks&Cole.

Jon Carlson, Len Sperry, & Judith A. Lewwis. (2005). Family Therapy Techniques: integration and tailoring. New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2017