ผลการปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมต่อคุณค่าในตนเองของผู้หญิงที่ผิดหวังในความรัก
คำสำคัญ:
การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีREBT, คุณค่าในตนเอง, ผู้หญิงที่ผิดหวังในความรัก, REBT individual counseling, self-esteem, broken hearted of womenบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมต่อคุณค่าในตนเองของผู้หญิงที่ผิดหวังในความรัก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้คือ นิสิตปริญญาตรีหญิงที่ผิดหวังในความรัก จำนวน 12 คน สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยและมีความสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษา มีประสบการณ์ความผิดหวังในความรักแบบเพศตรงกันข้าม ในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือนก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษา และมีคะแนนแบบวัดคุณค่าในตนเองตั้งแต่ 5 คะแนน สุ่มตัวอย่างแบบ (Random Assignment) เพื่อจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 6 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดคุณค่าในตนเองและโปรแกรมการปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม แบบวัดคุณค่าในตนเองผู้วิจัยแปลจาก แบบวัดของ Sorensen Self-Esteem Test (Sorensen, 2006) และหาคุณภาพของแบบวัดซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ .85 การวิจัยวัด 3 ระยะ คือ ก่อนทดลอง หลังทดลอง และติดตามผล สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการปรึกษากับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้หญิงทิ่ผิดหวังในความรักที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษามีคะแนนคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้หญิงที่ผิดหวังในความรักที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษามีคะแนนคุณค่าในตนเองในระยะหลังการทดลองแตกต่างกัน กับในระยะก่อนการทดลอง และระยะติดตามผล แตกต่างกันกับในระยะก่อนการทดลอง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ชัชวรรณ อมรพฤกษา. (2554).ความรักในวัยรุ่น.(ม.ป.ป.)
ดาวประกาย มีบุญ. (2552). ผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตาม
แนวคิด พิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมต่อความคิดเชิงบวกของ
เยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิพย์สุดา สำเนียงเสนาะ. (2556). การเผชิญกับภาวะสูญเสียและเศร้าโศก Coping
with Loss and Grief. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(7), 658-
จิตแพทย์ชี้อกหักวัยรุ่นธรรมดา น้อยรายมีรักแรกมั่นคง. (2550, 10 มกราคม). ผู้จัดการ
ออนไลน์.
เข้าถึงได้จาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?
NewsID=9500000003138.
สมเดียว เกตุอินทร์. (2541). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีต่อการเห็นคุณค่าใน
ตนเองของนักเรียนชาวเขาในโรงเรียนบ้านเวียงฝาง อำเภอฝาง จังหวัด
เชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
และการแนะแนว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุทิศา โขงรัมย์. (2553).ผลการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการพิจารณาเหตุผล
อารมณ์ และพฤติกรรมที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมเสี่ยงทาง
เพศของวัยรุ่นหญิง. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 4(1),
มกราคม-มีนาคม.
สุนทรี ศุภกรบุณย์. (2546). ผลการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล
อารมณ์ และพฤติกรรมและโปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเองที่มีต่อความรู้สึกมี
ปมด้อยของเด็กก่อนวัยรุ่นในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, บัณฑิต
วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Ellis, Albert. (1997). The evolution of Albert Ellis and rational emotive
behavior therapy. In J. K. Zeig (ED.), The evolution of
psychotherapy: The third conference (pp. 69-82). New York:
Brunner/Mazel.
Sorensen, M. J. (2006). Breaking the chain of low self-esteem (2nd
ed.). U.S.A.: Wolf.
Sternberg, R. J., & Barnes, M. L. (Eds.) (1988). The psychology of
love. New Haven, CT: Yale University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง