การพัฒนาบุคลิกภาพนักสื่อสารโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
คำสำคัญ:
การพัฒนาบุคลิกภาพนักสื่อสาร, กิจกรรมบทบาทสมมุติ, กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์, communicator personality development, role play activity, group relation activityบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาบุคลิกภาพนักสื่อสารโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์” เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพนักสื่อสาร โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และ 2) เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาบุคลิกภาพจากกิจกรรมข้างต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษานิเทศศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพเพื่องานนิเทศศาสตร์ จำนวน 14 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินบุคลิกภาพก่อนและหลังทำกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบความสัมพันธ์คือสถิติทีเทสต์ (t-test) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสังเกต ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นกับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดและสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนกลุ่มตัวอย่าง 2 คน
ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของบุคลิกภาพนักสื่อสารก่อนและหลังทำกิจกรรมไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 แต่เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ร่วมกัน พบว่ากิจกรรมทั้งสองอย่างสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพภายนอก คือ 1) ลดอาการมือสั่น เสียงสั่น 2) เกิดความกล้าถามในสิ่งที่ไม่รู้หรือไม่เข้าใจ และ 3) กระตุ้นให้เปิดรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพภายใน คือ 1) ลดความวิตกกังวลเวลาสื่อสารในที่ชุมชน 2) เกิดความมั่นใจในตนเอง และ 3) กระตุ้นการวางแผนการสื่อสารล่วงหน้า
References
ดวงสมร จันทับ. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้การใช้บทบาทสมมุติและการเล่านิทานที่มีต่อความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช. (2553). หลักการและทฤษฎีทางนิเทศศาสตร์. ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (เอกสารอัดสำเนา).
พีร์ธนัฐ พิชิตรุจโชติ. (2553). การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออก โดยใช้วิธีการแสดงบทบาทสมมุติของนักเรียนระดับชั้น ปวช.1/14 พณิชยการ ในรายวิชาการขาย 1 ภาคเรียนที่ 2/2553. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสันติราษฎร์บริหารธุรกิจ. (เอกสารอัดสำเนา).
วันเพ็ญ สุมนาพันธุ์. (2545). ผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อการพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมร ปาโท. (2545). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมเพื่อการสื่อสารและวิธีการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร-มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุธาทิพย์ แสนเดช. (2542). การใช้วิธีการสอนแบบบทบาทสมมุติร่วมกับวิธีการสอนแบบสาธิตเพื่อพัฒนาทักษะการพูดของนักเรียนที่มีลักษณะต่างกัน ในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Griffin, E. (1991). A first look at communication theory. USA.: McGraw-Hill.
Pearson, J.C. & Nelson, P.E. (1997). An introduction to human communication: understanding & sharing. (7th ed.). Boston: McGraw-Hill.
Verderber, R. F., & Verderber, K. S. (2002). Communicate! (10th ed.). Belmont, California : Wadsworth/Thomson Learning.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง