Developing and Strengthening a Network of Cross-Cuttural Lenrning Civilization of Chiang Strengthening CitiZenship in the Mekong Sub-Region

Main Article Content

วันชัย พลเมืองดี

Abstract

การพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีโครงการย่อยภายใต้โครงการแผนงานวิจัยนี้ ๓ เรื่อง ได้แก่ การเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงของชุมชน/พระสงฆ์ กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตามแนวพระพุทธศาสนา โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการดังนี้ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ๒) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตามแนวพระพุทธศาสนาและ ๓.เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง กับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จากการศึกษา พบว่า กระบวนการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้จากปัจจัยที่สำคัญ ๓ ส่วน ได้แก่ ๑) ผ่านกระบวนการทางการเมืองพบว่ากลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย เชียงตุง เชียงรุ้ง และเชียงทอง ชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ เป็นชาวไต ที่เรียกตัวเองว่า ไตลื้อ ไตยวน ไตน้อย และไตขืน โดยกระบวนการทางการเมืองจากตระกูลลาวจก นับตั้งแต่พญาเจื๋อง พญามังราย และพระเจ้ากาวิละ จากอาณาจักรล้านนาสู่ล้านช้าง ๒) ผ่านกระบวนการทางศาสนาโดยเฉพาะพระพุทธศาสนาฝ่ายนิกายเถรวาท ซึ่งได้หล่อหลอมวิถีชีวิตของกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงเกิดการเรียนรู้และสร้างคุณภาพชีวิตในการการเป็นพลเมืองที่ดี โดยการประยุกต์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ก่อให้เกิด วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี และ ๓) ผ่านกระบวนการทางชาติพันธุ์เผ่าไต ปัจจุบันชุมชนกลุ่มอารยธรรมลุ่มน้ำโขง ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย เชียงตุง เชียงรุ้ง และเชียงทอง ถือกันเป็นบ้านพี่เมืองน้อง มีการอพยพจากกลุ่มชาติพันธุ์ ไตลื้อ ในเมือง จังหวัด และประเทศไทย จีน ลาว


                  ความสัมพันธ์ภาพเหล่านี้เป็นเครือข่ายธรรมชาติที่เป็นเมืองพี่เมืองน้อง มีวัฒนธรรม ประเพณีที่คล้ายคลึงกัน จึงได้ศึกษาการสร้างเครือข่ายโดยการทำ MOU กลุ่มผู้นำท้องถิ่น พระสงฆ์ นักปราชญ์ท้องถิ่น โดยการเสนอจัดตั้งศูนย์ประสานงานของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อเป็นสร้างเสริมเครือข่ายในฐานะกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียง ๒. เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้อนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี นักวิชาการซึ่งกันและกัน ๓. เพื่อสร้างความร่วมมือในฐานะกลุ่มชาติพันธุ์ไตจากประชาชน  พระสงฆ์ สถาบันการศึกษา ปราชญ์ผู้รู้ในท้องถิ่น และแลกเปลี่ยนพระสงฆ์ในฐานะ อาจารย์ และนิสิตนักศึกษา โดยมีแนวทางในการพัฒนาเสริมสร้างการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมกลุ่มอารยธรรม ๕ เชียงเป็นไปตามหลักวิชาการ วิทยาศาสตร์ โดยไม่ขัดแย้งความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
พลเมืองดี ว. (2019). Developing and Strengthening a Network of Cross-Cuttural Lenrning Civilization of Chiang Strengthening CitiZenship in the Mekong Sub-Region. MCU Haripunchai Review, 3(2), 21–34. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/view/201585
Section
Research Article

References

เกรียงไกร เกิดศิริ และชาญคณิต อาวรณ์. ล้านนากับการเป็นมรดกโลก ในโครงการมรดกล้านนา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์. 2554.
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มนุษย์กับสังคม (Man and Society). พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2552.
จดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ หอสมุดแห่งชาติ เส้นดินสอขาว. เลขที่ ๔ หนังสือพระยาเชรพิไชยถึงพระยาสีหเทพ จ.ศ. ๑๑๘๙(พ.ศ. ๒๑๓๗)
ทองสืบ ศุภมาร์ค. พงศาวดารลาว. กรุงเทพฯ: องค์การค้ารุรุสภา. ๒๕๒๘).
ธีระพงศ์ โพธิ์มั่น. การท่องเที่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่: กรณีศึกษาวัดเชียงทอง และปริมณฑล หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๕๓)
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. ไทยสิบสองปันนา เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม. 2547.
บุญเฮง บัวสีแสงปะเลิด. ปะวัดสาดสีละปะ และสถาปัตตะกำสิมลาว เล่ม ๑. ๑๙๙๑. หน้า ๔๕.
ประชุมพงศาวดารเล่ม ๓๔ “พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน.
พระราชวรมุนี(ประยุทธ์ ปยุตฺโต).ปรัชญาการศึกษาไทย ฉบับแก้ไขรวบรวมใหม่. พิมพ์ครั้งที่ ๓ (กรุงเทพมหานคร:กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๒๘).
พระราชวิสุทธิโสภณ. เมืองพะเยา.(กรุงเทพฯ : มติชน. ๒๕๒๗).
พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. ดร. พิธีกรรมในวิถีชีวิตล้านนาจากคัมภีร์โบราณ The Rituals in Lan Na Lifestyle based on Manuscripts. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์. 2557.
มหาคำ จำปาแก้วมณี และคณะ. ประวัติศาสตร์ลาว(ขอนแก่น: คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยของแก่น. ๒๕๓๙)
ศรีเลา เกษพรหม. ประเพณีคนเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: บริษัท แอดเวอร์ ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด. 2558.
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี. “พุทธธรรมกับอุดมการณ์สำหรับศตวรรษที่ ๒๑”. ในพุทธธรรมกับอุดมการณ์สำหรับศตวรรษที่ ๒๑ : พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง. ๒๕๔๒).
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง. 2538.
สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: อมรินท์พริ้นติ้ง. 2539.
หลี ฟู อี้ “ประหวัติแคว้นสิบสองปันนา. “บัณฑิตวิทยาลัย. มหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ๒๕๒๕.
อรรถ นันทจักร. “ประวัติศาสร์นิพนธ์อีสาน:การศึกษาเชิงวิเคราะห์ประเพณีการจดบันทึกประวัติศาสตร์หัวเมืองอีสานถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐.” มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๒๙
เอกสารของฮอลันดาสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๑๕๑-๒๑๖๓ และ พ.ศ. ๒๑๖๗-๒๑๘๕.
https://www.dek-d.com/board/view/1398853/ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๑.
Oxford University, Oxford Advanced Learne’s Dictionary, ๔th Ed, Oxford : Oxford University Press, (First Edition for Thailand, ๑๙๙๔) P. ๒๓๓.
Swan, W., Langford, N., & Varey, R. (๒๐๐๐). Viewing the corporate community as a knowledge network. Corporate Communication : An International Journal, ๕ (๒), ๙๗-๑๐๖.