การพัฒนาชุดนิเทศที่ส่งเสริมการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธตามแนวทางอัตลักษณ์ 29 ประการสู่คุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4

Main Article Content

ฉวีวรรณ ไชยพิเศษ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดนิเทศที่ส่งเสริมการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธตามแนวทางอัตลักษณ์ 29 ประการ สู่คุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดนิเทศที่ส่งเสริมการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธตามแนวทางอัตลักษณ์ 29 ประการ สู่คุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ โรงเรียนในโครงการโรงเรียนวิถีพุทธในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 52 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ 1) สัมประสิทธิ์แอลฟา 2) ค่าเฉลี่ย 3) สูตร K.R. 20 และ4) ค่า t-test พบว่า  1.คุณภาพของชุดนิเทศ “4 ส สร้างโรงเรียนดีวิถีพุทธ” พบว่า ประสิทธิภาพของชุดนิเทศ “4 ส สร้างโรงเรียนดีวิถีพุทธ” มีค่า E1 : E2 เท่ากับ91.13/89.75 โดยมีคะแนนหลังการศึกษาผลการทดลองใช้ชุดนิเทศ “4 ส สร้างโรงเรียนดีวิถีพุทธ” สูงกว่าก่อนการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด  2.ผลการใช้ชุดนิเทศ พบว่า ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารโรงเรียนและครู ก่อนได้รับการนิเทศโดยใช้ชุดนิเทศมีคะแนนเฉลี่ย 21.21 ส่วนหลังจากนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ย 35.06 โดยมีคะแนนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับผลการดำเนินการพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ โดยก่อนทดลองใช้ชุดนิเทศในภาพรวมมีผลอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับหลังทดลองใช้ ในภาพรวมมีผลอยู่ในระดับมากและหลังทดลองใช้ สูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  3. ผลการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธตามแนวทางอัตลักษณ์ 29 ประการ ก่อนทดลองใช้ชุดนิเทศมีผลอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับหลังทดลองใช้ มีผลอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.ผลการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน พบว่า ก่อนทดลองใช้ชุดนิเทศมีผลอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับหลังการทดลองใช้ มีผลอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 5.ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองผู้เรียนที่มีต่อการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ ก่อนทดลองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และหลังจากทดลองใช้มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยหลังทดลองใช้ สูงกว่าก่อนทดลองใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ไชยพิเศษ ฉ. (2021). การพัฒนาชุดนิเทศที่ส่งเสริมการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธตามแนวทางอัตลักษณ์ 29 ประการสู่คุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 5(2), 1–13. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/view/254678
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545.กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
_____________. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4. (2559). เอกสารเสริมความรู้การดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนวิถีพุทธ. เอกสาร ศน. ที่ 4/2559 กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4.
นารีลักษณ์ ธีระวัฒนะชาติ และดร.สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์. (2557). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง พลเมืองดี โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพรินทร์ เหมบตรุสมชัย วงษ์นายะ และทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. (2556). กลยุทธ์การนิเทศเพื่อพัฒนาครูมืออาชีพในเครือข่ายการนิเทศที่ 18.
สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนท์และคณะ. (2551). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนใน
สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมชื่อ กอปรคุณูปการ. (2551). การพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวของครูแนะแนวช่วงชั้นที่ 1–2 โดยใช้ชุดนิเทศการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544.
Maria Bourke, William Kinsella and Paula Prendeville. (2019). The Implementation of an Ethical Education Curriculum in Secondary Schools in Ireland. School of Education. University College Dublin.