การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดของ POSDC สำหรับกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธวิธีของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดลำพูน 2)พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดของ POSDC 3)ทดลองรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดของ POSDCและ 4)ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดของ POSDC สำหรับกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 59 คนหรือรูป เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม และแบบตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า :
1) สภาพการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดของ POSDC ในภาพรวม 5 ด้านอยู่ในระดับดีมาก
2) ผลการประเมินและพัฒนารูปแบบบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดของ POSDC สำหรับกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดลำพูนก่อนการทดลองและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ Paired T Test ด้าน การบริหารงานทั่วไป มีผลการประเมินที่พัฒนาขึ้นทุกข้อ เมื่อพิจารณาในรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยของการพัฒนามากที่สุด คือ ผู้บริหารมีบุคลิกดี อบอุ่น ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย
3) ผลการใช้รูปแบบบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดของ POSDC ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติ Paired T Test ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ค่าสถิติมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
4) การตรวจสอบรูปแบบที่จัดทำขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองพุทธศาสนศึกษา. (2553). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ. 2553-2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
กิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562. เล่มที่ 136. ตอนที่ 50 ก. วันที่ 16 เมษายน 2562.
พระมหาอาคม อานันโท (อาคม). (2556). หลักธรรมของผู้บริหารในพระพุทธศาสนาการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมจังหวัดนครสวรรค์. พุทธศาสตรมหหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระมหาศรีอรุณ คาโท.(2559). พุทธวิธีทางการบริหารสำหรับองค์กรภาครัฐสมัยใหม่. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 3 (3). (สิงหาคม–ธันวาคม) : 1-10.
พระครูสังฆรักษ์ศุภณัฐ ภูริวฑฒโน. (2562). พุทธวิธีการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารธรรมวิชญ์. 2 (2), (กรกฎาคม – ธันวาคม) : 325-337.
พระธรรมโกศาจารย์(ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระครูวุฒิธรรมานันท์.2554). การบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม เขตบางกอกนอย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มลวิภา สิขเรศ. (2559). การบริหารสถานศึกษาเชิงพุทธบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. 3 (1), (มกราคม-เมษายน) : 113-126.
แสงอาทิตย์ ไทยมิตร.(2558). พุทธวิธีการบริหารกับจริยธรรมภาวะผู้นำเชิงพุทธในสถานศึกษา. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 3 (2), (กรกฎาคม – ธันวาคม) : 13-24.
อนุชิต วรรณสูตร. (2548). การศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในอนาคต. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์.
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A. & Lang, A. G., (2009). G*Power 3.1:Tests for correlation and regression analysis. Behavior Research Methods. 41 (4): 1149-1160.