A Study of Creative Leadership

Main Article Content

Apiwat Lertsongkram
Wannika Chalakbang
Boonmee Koboon

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โดยใช้กระบวนการวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แหล่ง และขั้นตอนที่ 2 ประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสารและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์ 2) การมีความยืดหยุ่นและปรับตัว 3) การมีความคิดสร้างสรรค์ 4) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 5) การทำงานเป็นทีม และ 6) การมีจินตนาการ


2) การประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน พบว่าทั้ง 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์  2) การมีความยืดหยุ่นและปรับตัว 3) การมีความคิดสร้างสรรค์ 4) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 5) การทำงานเป็นทีม และ 6) การมีจินตนาการ โดยทุกด้านมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
lertsongkram, A., Chalakbang, W., & Koboon, B. (2024). A Study of Creative Leadership . MCU Haripunchai Review, 8(2), 265–280. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/view/a-018
Section
Research Article

References

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555).โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จักรพันธ์ ไชยยิ่งกฤษศิริ.(2557). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 , วิทยานิพนธ์, ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ณปภัช อำพวลิน.(2557). แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา แรงจูงใจในการทำงานของครูและความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมพิษณุโลกเขต 1. วิทยานิพนธ์. ค.ม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ทองคำ พิมพา. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บรรพต รักงาม. (2557). ภาวะผู้นำการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 , วิทยานิพนธ์ ค.ม. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

บุณรดา ทรงบุญศาสตร์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปริญญา ตันสกุล.(2550). ศาสตร์แห่งการเป็นผู้นำ.กรุงเทพมหานคร: จิตจักรวาล .

พิมพ์พร พิมพ์เกาะ. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีการวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัษฎากร อัครจันทร์. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ ค.ด. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เรวัตน์ ชํานาญ. (2554).ฉลาดคิด ฉลาดสุข.กรุงเทพมหานคร: ฐานการพิมพ์.

วิโรจน์ สารรัตนะ.(2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา. : กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21.กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์.

สใบแพร เพียรชนะ.(2562).การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร.วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุทธิชัย นาคะอินทร์. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุภาพ ฤทธิ์บำรุง. (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ ความมีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อนุชา โสมาบุตร.(2555). การพัฒนาโมเดลการแพร่นวัตกรรมการเรียนรู้.:กรณีศึกษานวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัยรีน สมาแอ. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. สารนิพนธ์ ศษ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Puccio, G., Murdock, M., and Wiance, M. (2007). Creative Leadership: Skills that drive change. Thousand Oaks: SAGE Pub.

Robinson, K. (2007). The Principles of Creative Leadership. New York: McGraw-Hill.

Sternberg, R. J. (2006). Creative leadership: it’s a decision. Journal of Leadership.36(2), 22-24.

Ubben, G. C., Hughes, L. W., and Norris, C, J. (2010). The principal: Creative Leadership for Excellence in Schools. (6th ed.). Boston: Pearson.