แนวทางการพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

Main Article Content

อำพร ดัชถุยาวัตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบกระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู 3) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู และ 4) หาแนวทางการพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2566 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 342 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80 - 1.00 ด้านสภาพที่เป็นจริงมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .52 - .79 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 ด้านสภาพที่ควรจะเป็นมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .50 - .90 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น


          ผลการวิจัย พบว่า


         1) องค์ประกอบกระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู มี 7 องค์ประกอบ โดยทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด


         2) สภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครูทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่ควรจะเป็นทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด


         3) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู พบว่า ภาพรวมมีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นเท่ากับ .216  


         4) องค์ประกอบนำไปหาแนวทางการพัฒนา ได้แก่ การระบุปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา การดำเนินการแก้ปัญหา และการสะท้อนผลการแก้ปัญหา

Article Details

How to Cite
ดัชถุยาวัตร์ อ. (2024). แนวทางการพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 8(2), 296–311. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/view/a-020
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

แก้วมณี ปัทมะ. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : วีพริ้นท์.

ประชาชาติ ไชยพรม. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนเต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ประภัสสร ไชยชนะใหญ่และวุฒิภัทร มูลศรี. (2562). บทบาทครู : การพัฒนาการเรียนรูภายใตสังคมแหงการเปลี่ยนแปลง. วารสาร มจร. หริภุญชัยปริทรรศน์, 3(1), 41-50.

วรรณภา เหล่าไพศาลพงษ์. (2554). การศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสนใจในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

วิทยา หล่อศิริ. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและการตัดสินใจสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันการพลศึกษา. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต, สาขาวิชาชีพครู. (2566). หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566). สกลนคร : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุกัญญา ศรีสาคร. (2547). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต. วิทยนิพนธ์ ศษ.ม. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุคนธ์ สินทพานนท์ และคณะ. (2552). พัฒนาทักษะกระบวนการคิดพิชิตการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : เลี่ยงเชียง.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเพทมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.