ประสิทธิผลการดำเนินงานของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักอิทธิบาทธรรม ของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลอุโมงค์ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลอุโมงค์ 3) เสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการดำเนินงานของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักอิทธิบาทธรรมของเทศบาลตำบลอุโมงค์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 389 คน เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถาม ตรวจสอบค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.959 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีและค่าเอฟ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูปหรือคน วิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลอุโมงค์ พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง
2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลอุโมงค์ พบว่า เพศ การศึกษา และรายได้ พบว่า ไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนอายุ และอาชีพ พบว่า แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลการดำเนินงานของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงตามหลักอิทธิบาทธรรมของเทศบาลตำบลอุโมงค์ พบว่า 1) ฉันทะการทำให้เกิดใจรักด้วยการปลูกฝังจิตสำนึกในการสนับสนุนศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง 2) วิริยะการหมั่นเพียรด้วยการสนับสนุนอยู่เป็นประจำต่อเนื่อง 3) จิตตะตั้งใจสนับสนุนด้วยการสร้างความรับผิดชอบร่วม 4) วิมังสาการทบทวนผลการดำเนินงานของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์. (2547). วิวัฒนาการการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในห้าทศวรรษ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2537). เศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปภพ จี้รัตน์. (2561). “ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรกรรมในระดับครัวเรือนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ชัชชัย ชัยปัญญา. (2565). “ประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของที่ทำการปกครองอำเภอ เมืองลำพูน จังหวัดลำพูน”. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พีรพล ไชยณรงค์ศักดิ์. (2562). “ประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา”. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระภักดี มหาวิริโย (สอนแก้ว). (2562). “การส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดธนา ชินทตฺโต (ชินทนาม). (2560). “การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรม ในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระโยธิน ญาณวโร (แสนมนตรี). (2561). “ประสิทธิผลการบริหารจัดการน้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี”. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.