การบริหารโรงเรียนจัดการเรียนร่วม ของโรงเรียนบนพื้นที่สูงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วมในโรงเรียนบนพื้นที่สูง และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วมในโรงเรียนบนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 รูปแบบการวิจัยผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหาร ข้าราชการครู และครูผู้รับผิดชอบการบริหารการเรียนร่วม จำนวน 146 คน โดยการสุ่มแบบอย่างง่ายแบบมีสัดส่วน และผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารโรงเรียนจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนบนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนจัดการเรียนร่วม ของโรงเรียนบนพื้นที่สูง พบว่า ควรประสานความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร ข้าราชการครู ผู้ปกครอง และชุมชนในการพัฒนาระบบการจัดการเรียนร่วมอย่างเป็นทีม (MOU มีลักษณะเป็นเอกสารทางการ) นอกจากนี้ ควรมีการทำวิจัยเชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาอย่างตรงจุด มีการใช้สื่อที่หลากหลายในการบริหารจัดการ และควรส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนเข้าอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนร่วม เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรวมในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ธีระพงษ์ พรมกุล. (2558), สภาพการบริหารการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT)เป็นฐานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ถิรฉัตร คงจันทร์. (2560) .รายงานการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต. ภูเก็ต: โรงเรียนสตรีภูเก็ต.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
พัทธนันท์ วงษ์วิชยุตม์ และคณะ. (2560). แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโรงเรียนบ้านลำมะโกรก จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (1).
พัชริดา นิลสุข. (2558). การบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ราชกิจจานุเบกษา (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 . แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 .กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2548). การสังเคราะห์งานด้านการจัดการเรียนร่วมสู่ภาคปฏิบัติเพื่อนำสู่นโยบายการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพสำหรับเด็กและเยาวชนพิการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2560). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรวมเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา,กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติกรุงเทพมหานคร.
สำรวม คงสืบชาติ. (2559). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
อนุวรรตน์ ช่างหล่อ. (2561). การบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท ของโรงเรียนจัดการเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
อัญชลา เกลี้ยงแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนในสังกัด กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
Elif S.P., (2014). “Identification of inclusive education classroom teachers’ viewsand need regarding in-service training on special education in Turkey”. Educational Research and Reviews. 9 (20) : 1097-1108