The Guidelines for Managing Teacher’s Competency In The Evaluation of Doisaket Phadungsasana School In Doisaket District, Chiang Mai Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสมรรถนะครูด้านการวัดผลประเมินผล ของโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสมรรถนะครูด้านการวัดผลประเมินผล ของโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ผู้บริหารและครู โรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ จำนวน 15 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วยผู้บริหาร 2 คน ครู 2 คน ผู้เชี่ยวชาญ 2 คน และนักวิชาการศาสนา 1 คน รวม 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ กรอบการสัมภาษณ์ และกรอบการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเนื้อหา นำเสนอผลการวิจัยเป็นแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า :
1) ผลการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ และวิเคราะห์ SWOT ด้านการบริหารสมรรถนะครูด้านการวัดผลประเมินผลโรงเรียนโดยใช้กระบวนการ PDCA พบว่า ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนต่ำเนื่องจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ ส่วนหนึ่งมาจากการวัดผลประเมินผลที่ไม่สอดคล้อง และขาดการนำแหล่งเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามแบบเรียนสำเร็จรูปซึ่งอาจจะไม่ตรงกับบริบทของโรงเรียน ขาดการใช้กระบวนการ PDCA เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารอย่างเป็นระบบ สมรรถนะการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนเป็นสมรรนะที่ควรพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะด้านการวัดและประเมินผล
2) แนวทางการบริหารสมรรถนะครูด้านวัดผลประเมินผลของโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าควรประกอบด้วยแนวทาง ดังนี้ (1) การพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดผลประเมินผลในชั้นเรียน (2) การพัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ (3) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการวัดผล (4) การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน (5) การประกันคุณภาพรายปี และ (6) กิจกรรมติดตามผลการเรียนของผู้เรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชาลี ภักดี, พศิน แตงจวง, ฉัตรชัย ศิริกุลพันธ์, พระครูวิทิตศาสนาทร, พระมหาสกุล มหาวีโร,. (2562), การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูสงเสริมการคิดสรางสรรคโดยวิธีโครงงานเพื่อการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนตนสังกัดองคกรปกครองสวนทองถิ่น ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน : วารสารบัณฑิตศาส์น, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 17(1), 54-65.
ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ธนานันต์ ดียิ่ง. (2556). โปรแกรมพัฒนาสมรรถนครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการวัดผลประเมินผลในชั้นเรียน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553.
พระมหาอินสอน คุณวุฑฺโฒ. (2564). รายงานประจำปีของสถานศึกษา (SAR) โรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์. ในสังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 5. เอกสารอัดสำเนา
พิสณุ ฟองศรี. (2550). การประเมินทางการศึกษา : แนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : พรอพเพอร์ตี้พริ้น.
ยุทธนา เกื้อกูล. (2560) การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาอิสลามศึกษา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อรุณรุ่ง โยธสิงห์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วราเสฏฐ์ เกษีสังข์. (2559). การบริหารจัดการการวัดและประเมินผลการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีระยุทธ ก้อนกั้น. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริงของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2543). รายงานการวิจัยเรื่องการประเมินการเรียนรู้ : ข้อเสนอเชิงนโยบาย.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.