การศึกษาองค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู

Main Article Content

วิจิตตรา ชมทอง
พรเทพ เสถียรนพเก้า

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย เรื่อง คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 การวิจัยในครั้งนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยมีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 แหล่ง ขั้นตอนที่ 2 การประเมินองค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสารและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์เชิงเนื้อหา


         ผลการวิจัยพบว่า


         1) คุณภาพชีวิตในการทำงานของครูประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 2. ประชาธิปไตยในโรงเรียน 3. สภาพการทำงานที่คํานึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ 4. ลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม 5. ความมั่นคงในการทํางาน 6. ความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว 7. โอกาสในการพัฒนาความสามารถ และ 8. ค่าตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม


         2) ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ โดยภาพรวมทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด จากผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนในภาพรวม พบว่า ด้านความสัมพันธ์ในโรงเรียน ด้านประชาธิปไตยในโรงเรียน ด้านโรงเรียนที่คํานึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ และด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ชมทอง ว., & เสถียรนพเก้า พ. (2024). การศึกษาองค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 8(3), 359–372. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMHR/article/view/b-026
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา ทองนุช. (2563). รูปแบบพุทธบูรณาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูสังกัด สพป.นครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 183-197.

ข่าวเวิร์คพอยท์ 23 ออนไลน์. (2565, พฤศจิกายน). ฟังครูรุ่นใหม่ ทำไมครูต้องลาออก | คุยทะลุข่าว EP53 [วิดีโอ]. ยูทูป. https://shorturl.asia/FnwO4

เจตนิพิฐ สุจิระกุล. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังหัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกฉียงเหนือ. วารสารการบริหารการศึกษา มศว, 19(36), 37-47.

ชาญณรงค์ อินอิว, อนุชา กอนพ่วง และปกรณ์ ประจันบาน. (2565). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15, 113-123.

นันทพร ทองลิ้ม. (2563). ผลกระทบของสัมพันธภาพในที่ทำงานและความไม่มั่นคงในงานต่อความตั้งใจลาออกจากงาน ผ่านความสุขในการทำงาน. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นาวี อุดร, วัลนิกา ฉลากบาง, วาโร เพ็งสวัสดิ์, และพรเทพ เสถียรนพเก้า. (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 213-222.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

พจน์ เจริญสันเทียะ. (2564). การพัฒนาดัชนีคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ศิลปากร, 19(2), 27-36.

พระมหาทิพย์ โอษฐงาม. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. Journal of Roi Et Rajabhat University, 2(14), 217-226.

รัชฎาพร สีทา. (2566). คุณลักษณะการเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 5(2), 15-29.

วรกาญจน์ สุขสดเขียว. (2563). คุณภาพชีวิตบุคลากรในโรงเรียนราชินีบูรณะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 62-75.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2562). คุณภาพชีวิตทำงานของครูโรงเรียนวัดหวายเหนียว “ปุญสิริวิทยา” จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 1005-1017.

อุษา งามมีศรี, ละมุล รอดขวัญ, เกษม โต๊ะนาย, และประทีป มากมิตร. (2565). การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 163-176.

Drafke, Michael, & Kossen, S. (2002). The human side of organizations. 8th ed. Upper Saddle River. Prentice Hall.

Elliot, E,. (1976). “Educational connoisseurship and criticism: Their form and functions in education evaluation.” The Journal of Aesthetic Education, 10(3), 192-193.

Greenberg, J., & Baron, R. A. (2008). Behavior in organizations. 9th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Hadi, S., Pebrianti, E., & Kirana, K. C. (2023). Analysis of the effect of work-life balance, self-esteem and work motivation on organizational commitment moderated by organizational justice on workers in Yogyakarta. Journal of Education, Teaching, and Learning, 8(1), 7-14.

Hanjarini, G. D., Sugiarto, S., & Karnati, N. (2022). The Effect of Job Design and Quality of Work Life on Affective Commitment of Vocational High School’s Teachers in East Jakarta Indonesia. International Journal for Educational and Vocational Studies (IJEVS), 2(3), 108-118.

Kirana, K. C. (2023). Analysis of the effect of work-life balance, self-esteem and work motivation on organization commitment moderated by organization justice on workers in Yogyakarta. Journal of education, teaching, and learning, 8(1), 7-14.

Majumder, S., & Biswas, D. (2022). COVID-19: impact on quality of work life in real estate sector. Springer Nature, 56(1), 413–427.

Richard, W. (2022). Criteria for Quality of Working Life In Loues E. Davis and Albert B. Cherns (eds.). The Quality of Working Life. Free Press.

Smith, H., & Webb, F. (2022). Striking a Balance between Work and Play: The Effects of Work–Life Interference and Burnout on Faculty Turnover Intentions and Career Satisfaction. International Journal of Environmental Research and Public Health, 19(1), 1-14.

Soni, P., & Bakhru, K. M. (2022). A review on teachers eudaemonic well-being and innovative behaviour: exploring the importance of personality, work-life balance, self-efficacy and demographic variables. International Journal of Learning and Change, 11(2), 169-189.

Soni, P., & Bakhru, K. M. (2022). Behavior in Organizations (8th ed). Allyn and Bacon.

Ware H., & Kitsantas, A. (2022). Teacher and collective efficacy beliefs as predictors of professional commitment. The journal of educational research, 100(1), 303-310.

Ware, H., & Kitsantas, A. (2022). Teacher and Collective Efficacy Beliefs as Predictors of Professional Commitment. The Journal of Educational Research, 100(1), 303-310.

Woko & Fred, O. (2022). The Strategies for Improving Teacher Engagement to Public Secondary Schools in Orashi Area. THE COLLOQUIUM A Multi-disciplinary Thematic Policy Journal, 10(1), 118-131.