การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้าง คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัญหาการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาและพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้เรียน พัฒนารูปแบบ ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนและ ติดตามผลลัพธ์จากพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรีวิธีดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) การพัฒนารูปแบบ แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย ประกอบด้วย การวิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารกิจกรรมลูกเสือ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) สอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ระยะที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ โดยสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนวิชาลูกเสือที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กำกับกองลูกเสือในสถานศึกษา จำนวน 20 คน 2) การติดตามผลลัพธ์จากพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้เรียน จากการประเมินพฤติกรรมของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาการจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน พบว่า นโยบายในการดำเนินการและแผนการจัดกิจกรรมลูกเสือยังไม่ชัดเจน ครูผู้สอนวิชาลูกเสือไม่มีวุฒิทางลูกเสือและไม่เข้ารับการอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ส่งผลให้ขาดความรู้ความเข้าใจในการขอจัดตั้งกองลูกเสือ รวมทั้ง งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ ไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรม และผู้บริหารสถานศึกษาควรสานสัมพันธ์กับชุมชน เพื่อสามารถใช้ทรัพยากรในชุมชน เช่น แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ในการจัดกิจกรรมลูกเสือ พฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนยังขาดระเบียบวินัย เช่น มาโรงเรียนสาย ไม่เข้าแถวเคารพธงชาติ และมีพฤติกรรมก้าวร้าว ใช้วาจาไม่สุภาพ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนให้ความเห็นว่า กิจกรรมลูกเสือสามารถช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนได้ เพราะกิจกรรมลูกเสือเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัย มีความอดทน เสียสละและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม มีคุณธรรม จริยธรรมที่จะดำรงตนอย่างมีความสุขในสังคม 2. รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านปัจจัยเกื้อหนุน (Input) ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบย่อย 2) ด้านกระบวนการ (Process) ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย และ 3) ด้านผลผลิต (Output) ประกอบด้วย 1 องค์ประกอบย่อย 3. การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี ที่พัฒนาขึ้น พบว่า โดยรวมทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลลัพธ์จากพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี
ก่อนและหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า
4.1 พฤติกรรมการปฏิบัติตนอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน ก่อนการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยรวมผู้เรียนมีการปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมนาน ๆ ครั้ง และหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยรวมผู้เรียนมีการปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ผู้เรียนมีการปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมเพิ่มมากขึ้นทุกด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านมีวินัย ด้านมีจิตสาธารณะ และด้านมุ่งมั่นในการทำงาน
4.2 พฤติกรรมการปฏิบัติตนอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า ก่อนการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยรวมผู้เรียนมีการปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมนาน ๆ ครั้ง และหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยรวมผู้เรียนมีการปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ผู้เรียนมีการปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมเพิ่มมากขึ้นทุกด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านมีวินัย ด้านรักความเป็นไทย และด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
4.3 พฤติกรรมการปฏิบัติตนอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี ตามความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่า ก่อนการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยรวมผู้เรียนมีการปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมนาน ๆ ครั้ง และหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยรวมผู้เรียนมีการปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมสม่ำเสมอ ผู้เรียนมีการปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมเพิ่มมากขึ้นทุกด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านมีจิตสาธารณะ ด้านมีวินัย และด้านรักความเป็นไทย
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คมชัดลึก. (2562). รัชกาลที่ 9 กับการศึกษาไทย. เข้าถึงได้จาก http://www.komchadluek.net/news/royal/402536
จำเนียร แสงเสนา และวิทยา จันทร์ศิลา. (2561). รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์, 20(3).
ธนนท์ วีรธนนท์. (2559). การพัฒนาระบบองค์การเพื่อความมีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงาน
การศึกษาพิเศษ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม.
พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551. (2551, 4 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา, 124(42 ก), 93.
วัฒนา อุปพงษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อการส่งเสริมพหุปัญญาของนักเรียนโรงเรียนเอกชน
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2561). การประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ รอบ 4
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เข้าถึงได้จาก http://www.onesqa.or.th
สำเนียง ไวยารัตน์. (2558). รูปแบบการจัดการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(2), 131.
หทัยภัทร จีนสุทธิ์. (2562). รูปแบบการบริหารกิจกรรมลูกเสือเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ในจังหวัดนนทบุรี. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฑีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
หอสมุดคุรุสภา. (2562). พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษา. เข้าถึงได้จาก http://www.site.ksp.or.th
อุดม ชูลีวรรณ. (2559). รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล.
ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.