การประเมินโครงการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ศุภวัฒน์  เทียมศรีรัชนีกร

บทคัดย่อ

 การประเมินโครงการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท เกี่ยวกับความเหมาะสม ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับความเหมาะสม ความพร้อมของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร และวิธีดำเนินการตามโครงการ 3) ประเมินกระบวนการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของการดำเนินการตามโครงการที่ปฏิบัติจริง 4) ประเมินผลผลิต เกี่ยวกับผลการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และผลสำเร็จของโครงการในส่วนปรับขยายด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครอง จำนวน 340 คน และนักเรียน จำนวน 340 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 702 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการ พบว่า ด้านบริบท ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนและนำไปสู่การปฏิบัติได้ วิธีการดำเนินการและระยะเวลาดำเนินการมีความเหมาะสมและปฏิบัติจริงได้ และเป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน และ ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ พื้นที่และอุปกรณ์ประกอบกิจกรรมเหมาะสมเพียงพอกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ บุคลากรในโรงเรียนให้ความร่วมมือปฏิบัติงานในการดำเนินโครงการเป็นอย่างดี และโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากชุมชน ในการดำเนินโครงการ ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การกำหนดกิจกรรมโครงการเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษา โรงเรียนเผยแพร่ความรู้จากการจัดกิจกรรมและขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชน และมีการนิเทศกำกับ ติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง


  1. ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมากและในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การดำเนินงานโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง และสถานศึกษามีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการบริหารจัดการและรู้เท่าทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม ตามความคิดเห็นของผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล จากการสังเกตพฤติกรรมของครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย   3 อันดับแรก ได้แก่ ผู้เรียนเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนรู้จักการออมเงินและใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด และผู้เรียนมีความสุขในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และตามความคิดเห็นของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการเลือกประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โรงเรียนจัดกิจกรรมเหมาะสมกับวัยและตรงกับความต้องการของผู้เรียน และนักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนและสามารถแบ่งเบาภาระครอบครัว    

                4.1  ด้านผลกระทบ โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า โรงเรียนได้รับการยอมรับและมีความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษา ผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล พบว่า ผู้เรียนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางบวก ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนมีการพัฒนาตนเองหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม


                4.2  ด้านประสิทธิผล โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ  มาประยุกต์ ใช้กับชีวิตประจำวัน ผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล พบว่า ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย


                4.3  ด้านความยั่งยืน โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมไปประกอบอาชีพในอนาคต ผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล พบว่า ผู้เรียนรู้จักปรับตัวและมีทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนมีพื้นฐานในอาชีพที่ตนถนัดและสนใจเพื่อนำไปสู่ความเชี่ยวชาญในอนาคต


                4.4  ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า ผลความสำเร็จของกิจกรรมในโครงการสามารถถ่ายทอดเพื่อเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพ ผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล พบว่า ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมสู่เพื่อนและครอบครัว ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นต้นแบบแก่เพื่อน ๆ ในชั้นเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลานันท์ บุญกล้า. (2559). การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองปลาซิว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ขวัญนภา อุณหกานต์. (2559, 13 เมษายน). การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนสวนแตงวิทยา.

https://www.gotoknow.org/posts/631712.

จรรยาพร ศิลาโชติ. (2561, 22 กุมภาพันธ์). การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. https://www.gotoknow.org/posts/659823.

ปรียา โกละกะ. (2561, 4 มกราคม). การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ “โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น”

โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านไร่หลวง). http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=159401&bcat_id=16.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2560, 7 มีนาคม). เอกสารเผยแพร่เศรษฐกิจพอเพียง. https://www.chaipat.or.th/publication/publish-document/sufficiency-

economy.html.

รำไพ แสงนิกุล. (2559). การประเมินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ลัญจกร นิลกาญจน์, ปัญญา เลิศไกร และสุดาวรรณ์ มีบัว. (2560). เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 9(1), 203-211.

วัฒนา สมจิตร. (2562, 2 เมษายน). การประเมินโครงการโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น โรงเรียนเทศบาล 9 มณเฑียรทองอนุสรณ์. http://122.155.168.174/~kroobannok/board_view.php?b_id=169169&bcat_id=16.

ศศิพรรณ โพธิแท่น. (2560). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียนเทศบาล 3 วัดเหนือ. กาฬสินธุ์: โรงเรียนเทศบาล 3 วัดเหนือ.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 2. (2562). รายงานผลการประเมินสถานศึกษาที่เข้ารับการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 2. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.