การวิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารของรายการข่าวบนแฟนเพจโทรทัศน์

Main Article Content

ณัฎฐินี ชูช่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทเนื้อหาของข่าวและพฤติกรรมในการรับรู้ข่าวที่ปรากฏบนแฟนเพจโทรทัศน์ของผู้รับชมรายการ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาประเภทข่าวสารบนโพสต์ต่าง ๆ ที่อยู่ในแฟนเพจรายการเรื่องเล่าเช้านี้  รายการทุบโต๊ะข่าว Amarin TV 34 รายการไทยรัฐนิวส์โชว์  โดยเก็บข้อมูลตัวอย่างตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 22 มกราคม 2562 และการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์แบบวัดผลครั้งเดียวเพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ของผู้รับชมรายการ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2562 จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน  ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน  (T-test Groups) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์   (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) เพื่อทดสอบสมติฐาน


            การวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า แฟนเพจรายการข่าวทางโทรทัศน์มีโพสต์ข่าวอาชญากรรมมากที่สุด ส่วนใหญ่คือข้อความพร้อมภาพประกอบ รองลงมาคือการสตรีมมิ่งรายงานข่าว ปฎิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับโพสต์คือการกดปุ่มแสดงอารมณ์ร่วม ส่วนการสำรวจผู้อ่านแฟจเพจโทรทัศน์พบว่าติดตามรายการข่าวเรื่องเล่าเช้านี้  รายการทุบโต๊ะข่าว Amarin TV 34 รายการไทยรัฐนิวส์โชว์  ตามลำดับ โดยติดตามแฟนเพจรายการข่าวทางโทรทัศน์อื่น ๆ ด้วย  แฟนเพจรายการโทรทัศน์เป็นเพศชายและหญิงในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่มีอายุ 19-35 ปี  การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชนเป็นส่วนใหญ่ มีรายได้ส่วนตัว 10,000-30,000 บาท ต่อเดือน ใช้เฟซบุ๊กเป็นประจำช่วงเช้าถึงค่ำ (๑๖.0๑-2๒.00 น.) ผ่านโทรศัพท์มือถือ ผู้อ่านเกือบทั้งหมดใช้เฟซบุ๊กทุกวัน ใช้งาน 7 ครั้งขึ้นไปต่อวัน 10-๓๐ นาทีต่อครั้งขึ้นไป โดยเข้าใช้จากทั้งที่บ้านและที่ทำงาน กลุ่มตัวอย่างติดตามแฟนเพจรายการข่าวทางโทรทัศน์มีแรงจูงใจด้านข่าวสาร ด้านข่าวบันเทิง และด้านข่าวสังคมในระดับมากทั้ง 3 ด้าน 


            ผลการทดสอบสมติฐานพบว่า ผู้อ่านมีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทั้งในเรื่องของ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพและรายได้ มีพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารแฟนเพจรายการข่าวทางโทรทัศน์ไม่แตกต่างกัน ผู้ที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์แตกต่างกันทั้งในเรื่องของ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ และความพึงพอใจในการใช้แฟนเพจโทรทัศน์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการรับข่าวสารในทางบวก

Article Details

บท
บทความวิจัย