ทฤษฎี “ความหวง” ในงานวิจัยดนตร

Main Article Content

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์

บทคัดย่อ

ทฤษฎี “ความหวง” เป็นทฤษฎีที่อธิบายความเป็นจริงในชั้นความลับของข้อมูลที่มี ความสําคัญต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่ต้องการรักษาไว้อย่างมีเหตุมีผล ระดับชั้นความหวงจําแนก ออกเป็น 4 ระดับ คือความหวงสุดยอด ความหวงมาก ความหวงน้อย และไม่หวง แต่ละระดับมีนัยของความสําคัญแตกต่างกัน ทฤษฎีความหวงใช้ได้กับงานวิจัยหรือลักษณะการศึกษาอื่น ๆทั่วไป สําหรับในมิติของดนตรีซึ่งเป็นศาสตร์ศิลป์ที่นักดนตรีได้สร้างสรรค์อย่างวิจิตร เนื้อหาสารัตถะในส่วนของกระบวนวิธีคิด เทคนิคการปฏิบัติจนถึงขั้นฝีมือสุดยอด นับเป็นความสําคัญที่มีต่อศิลป์นต่อสํานักดนตรีหรือสถาบันดนตรี เป็นสิ่งมีคุณค่าที่ต้องหวงไว้อย่างยิ่ง ในการทําวิจัยดนตรีนักวิจัยจึงต้องพิจารณาความซับซ้อนที่มีอยู่ เพราะครูดนตรีหรือนักดนตรีที่เลือกเป็น ประชากรตัวอย่างในงานวิจัยอาจจะให้ความร่วมมือ ให้ข้อมูล ให้อย่างไตร่ตรอง ให้บ้าง ไม่ให้บ้าง นักวิจัยต้องเคารพการตัดสินใจของบุคคลข้อมูลและถือปฏิบัติทั้งต่อบุคคลและต่อสาระข้อมูลนั้น มีจรรยาบรรณ มีจริยธรรมการวิจัย และถือปฏิบัติในกระบวนวิธีต่าง ๆ ด้วยความรับผิดชอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย