การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง สุสานช่างวัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2

Main Article Content

เดชกุล มัทวานุกูล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงคของการวิจัย คือ (1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง สุสานช้างวัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์ สําหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ (2) เพื่อศึกษาคุณภาพของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สุสานช้างวัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์ ในด้าน (2.1) ประสิทธิภาพของหลักสูตรท้องถิ่นตามเกณฑ์ 80/80 (2.2) ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนก่อนการเรียนรู้และภายหลังการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สุสานช้าง วัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์ (2.3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สุสานช้างวัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์ และ (2.4) ความพึงพอใจของบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สุสานช้างวัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สุสานช้างวัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วยเอกสารหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สุสานช้างวัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์ และเอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่อง สุสานช้างวัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์
2. คุณภาพของหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สุสานช้างวัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์ พิจารณาได้จาก (1) หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สุสานช้างวัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ83.02/83.64 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภายหลังการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สุสานช้างวัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์ สูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก และ (4) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สุสานช้าง วัดป่าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย