การศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดตั้งยุติธรรมชุมชนเพื่อระงับข้อพิพาท: ศึกษาเฉพาะพื้นที่อำเภอเขาคิชกูฏจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

กุลปราณี ศรีใย
ณัฏฐ์นรี ศรีสมบูรณ์

บทคัดย่อ

ปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทยในปัจจุบันที่มีสาเหตุหลักมาจากความเป็นกลไกระบบราชการขนาดใหญ่ และใช้ทรัพยากรมาก ประกอบกับกระบวนการยุติธรรมในหลายขั้นตอนต้องใช้เวลานาน ส่งผลให้ปริมาณคดีที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลมีจำนวนมากขึ้น ก่อให้เกิด
ปัญหา“คดีล้นศาล คนล้นคุก” รวมถึงปัญหาที่ประชาชนยังไม่มีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วมในระบบงานยุติธรรมอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักด้วยกระบวนการยุติธรรมทางเลือก โดยการสร้างกลไกการมีส่วน
ร่วมของประชาชนในระบบงานยุติธรรมในระดับตำบล หมู่บ้าน และชุมชน สำหรับภาครัฐให้เป็นหน่วยงานสนับสนุนพัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานของภาคประชาชนในรูปแบบของศูนย์ยุติธรรมชุมชนอาสาสมัครยุติธรรมชุมชน และเครือข่ายยุติธรรมชุมชนเพื่อการเสริมสร้างความเป็นธรรมทางสังคม (Social Justice) อันจะนำไปสู่การลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลและลดปริมาณผู้ต้องขังที่มีจำนวนมากเกินไปในปัจจุบัน ตลอดจนการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งมีศักยภาพมีความปลอดภัย และเป็นสังคมที่มีความสมานฉันท์หรือความสามัคคีปรองดองกันมากยิ่งขึ้นต่อไปจากหลักการอันเป็นสาระสำคัญดังกล่าวจึงให้มีกฎหมายว่าด้วยยุติธรรมชุมชน เนื่องจากการมีส่วนร่วมของชุมชนในงานยุติธรรมตามแนวความคิดยุติธรรมชุมชนในปัจจุบันยังไม่มีกรอบแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนและยังไม่มีกฎหมายรองรับ การปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้การดำเนินงานดังกล่าวยังไม่สามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์จึงสมควรกำหนดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านงานยุติธรรมระดับชุมชนเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานยุติธรรมชุมชนและรองรับการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายมารองรับดังนั้น จึงมีความจำเป็นของบุคลากรในทางการศึกษารายวิชานิติศาสตร์ที่ต้องใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีโอกาสลงไปใกล้ชิดกับสังคม และท้องถิ่นเพื่อรับทราบปัญหาและร่วมแก้ไขปัญหาของคนในสังคม ในท้องถิ่น เพื่อเป็นพื้นฐานในการถ่ายทอดความรู้อันช่วยสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมชุมชนให้เข้มแข็งขึ้นได้จากผลการวิจัยที่ได้จากการระดมความคิดเห็นโดยการสนทนากลุ ่มเจาะจงเห็นว ่า การลงโทษนี้ไม่เหมาะสมกับชุมชนควรเน้นไปที่การแก้ไขผู้กระทำความผิดมากกว่า ดังนั้น หากมีการจัดตั้งยุติธรรมชุมชนขึ้นมาก็จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหากรณีข้อพิพาทและสามารถระงับข้อพิพาทได้ดียิ่งกว่าการนำคดีขึ้นสู่ศาลในทุกกรณี

Article Details

บท
บทความวิจัย