แนวคิดประโยชน์นิยมและหลักคุณธรรม 12 ประการของมหาวิทยาลัยทางจิตของโลกกับแนวทางการสร้างประโยชน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้มุ่งวิเคราะห์การนำแนวคิดเรื่องหลักคุณธรรม 12 ประการของมหาวิทยาลัยทางจิตของโลกเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการสร้างประโยชน์ต่อปัจเจกบุคคลและประโยชน์ต่อสังคม ผ่านการตัดสินคุณค่าด้วยแนวคิดประโยชน์นิยม ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดจริยศาสตร์ประโยชน์นิยมที่ใช้เกณฑ์การตัดสินคุณค่าสูงสุดอยู่ที่จำนวนปริมาณของประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นว่าเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้น ประโยชน์สุขของคนทุกคนสามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวเราเอง และประโยชน์สุขจะเกิดขึ้นได้แท้จริงนั้น เมื่อนำไปก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นได้ด้วย และการจะสร้างประโยชน์ในขั้นสูงสุดเพื่อให้สำเร็จต่อผู้อื่นนั้น มนุษย์ต้องเริ่มจากการสร้างประโยชน์สุขให้แก่ตนเองก่อน เป็นพื้นฐานเสมอ นอกจากนี้ ประโยชน์สุขที่แท้จริงควรพิจารณาถึงประโยชน์สุขหรือคุณค่าที่เกิดมาจากภายในจิตใจเป็นสำคัญ เพราะหากพลังคุณค่าหรือคุณธรรมภายในของมนุษย์ดี คุณค่าการกระทำที่ส่งต่อมาสู่ภายนอกย่อมมีความดีตามไปด้วย โดยความสอดคล้องกับหลักคุณธรรม 12 ประการของมหาวิทยาลัยทางจิตของโลกคือวิธีการอันถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการนำไปใช้ เพราะเมื่อถึงที่สุดแล้ว การวิเคราะห์ด้วยกฎของเหตุและผล “ถ้าเครื่องมือหรือวิธีการปฏิบัติเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องแล้ว เป้าหมายย่อมจะต้องเป็นไปตามกฎนั้น อย่างไม่ต้องสงสัย”
Article Details
References
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2556). ทฤษฎีและปัญหาจริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 13. สำนักพิมพ์คอมม่าดีไซน์แอนด์พรินท์.
บุญมี แท่นแก้ว. (2541). จริยธรรมกับชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 6. โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 6. ศยาม.
สุธรรม ชูสัตย์สกุล. (2545). ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่. มหาวิทยาลัยมงกุฎราชวิทยาลัย.
Dadi Janky. (1996). Living Values Statements. Brahma Kumaris Information Services Publications.
Bantham, J. (1988). An Introductions to the Principles of Morals and Legislation. Clarendon Press
Bantham, J. (1988). Ethical Studies. Clarendon Press.