ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลในความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน : ศึกษากรณี มาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลฐานฟอกเงิน ตลอดจนมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของนิติบุคคลของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) , สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Nepal) และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Philippines) เพื่อนำมาวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาของนิติบุคคลฐานฟอกเงินในประเทศไทย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยข้อมูลทางเอกสาร และการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะนำข้อมูลทั้งสองส่วนนี้มาวิเคราะห์ร่วมกัน ผลการศึกษาพบว่า การกระทำความผิดทางอาญาของนิติบุคคลฐานฟอกเงินมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องยังมีข้อบกพร่องบางประการในเรื่องของอายุความในการดำเนินคดีอาญากับนิติบุคคลในความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน อัตราโทษปรับที่จะลงแก่นิติบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดยังไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ผู้กระทำความผิดได้รับ อีกทั้งมาตรการพิเศษอื่นเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินของนิติบุคคล ผู้บริหารของ
นิติบุคคล หรือผู้แทนของนิติบุคคล รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องยังไม่มีความชัดเจน ดังนั้นจึงควรยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 โดยนำบทบัญญัติมาตรา 60 มาปรับใช้กับการกระทำของนิติบุคคลเช่นเดียวกับกรณีที่บุคคลธรรมดาเป็นผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน และแก้บทบัญญัติในมาตรา 60 ในส่วนของโทษปรับให้มีอัตราการปรับที่สูงขึ้น รวมถึงแก้ไขมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และจัดให้มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีบุคคลที่ต้องเฝ้าระวังในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Watch List) บัญชีรายชื่อผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Black List) เพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลสำหรับการตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของนิติบุคคลให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
จตุพร อุทธโยธา. (2560). แนวทางการกำหนดโทษทางอาญาเกี่ยวกับผู้รับจ้างเปิดบัญชีฐานฟอกเงิน. [สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ประเทือง ธนิยผล และคณะ.(2550). การสืบค้นแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดอายุความทางอาญาในบริบทสังคมไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประเทือง ธนิยผล และคณะ. (2563, 3 ธันวาคม). มติชนออนไลน์ชำแหละโมเดล ‘ฟอกเงิน’ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ. https://www.matichon.co.th/economy/news_2491379).
สมพงษ์ เตชะสมบูรณ. (2561). มาตรการเสริมแทนโทษปรับในคดีลหุโทษ. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล.หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60 – 61. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. (2563, 3 ธันวาคม). ความเป็นมาของสำนักงานป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน. https://www.amlo.go.th/index.php/th/about/2016-05-04-04-54- 33
อุมาพร แก้วศักดาศิริ. (2561). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินนิติบุคคลที่ประกอบอาชีพค้าอัญมณีและทองคำ. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อุเทน นุ้ยพิน. (2563). หลักกฎหมายและแนวทางปฏิบัติพร้อมตัวอย่างสำนวนการสอบสวน คดียาเสพติด ชุดที่ 5 ครอบครองยาเสพติดให้โทษเพื่อจำหน่ายและฟอกเงิน. เอสพีเอส บาย ซานต้า
FATF GAFI. (2012, 1 December). FATF 40 Recommendations. https://www.fatf-
gafi.org/media/fatf/documents/FATF%20Standards%20-%2040%20 Recommendations%20rc.