การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง โครงสร้างภายในเซลล์สิ่งมีชีวิตด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบจำลองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

จุไรรัตน์ อินต๊ะนนท์
วงเดือน ไม้สนธิ์
สถาพร ดียิ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอน เรื่อง โครงสร้างภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบจำลอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง โครงสร้างภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบจำลอง 3) ศึกษาพัฒนาการในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง โครงสร้างภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบจำลอง และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอน ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 25 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนชุมชนบ้านสบเปา จังหวัดเชียงราย ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดการสอน จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิจัยเป็นแบบการทดลองเบื้องต้น ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาชุดการสอน เรื่อง โครงสร้างภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบจำลอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 84.00/84.40 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดการสอน เรื่อง โครงสร้างภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบจำลองและนักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
อินต๊ะนนท์ จ., ไม้สนธิ์ ว., & ดียิ่ง ส. (2023). การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง โครงสร้างภายในเซลล์สิ่งมีชีวิตด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบจำลองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(1), 62–71. https://doi.org/10.14456/jsmt.2023.7
บท
บทความวิจัย

References

โกเมศ นาแจ้ง. (2554). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ MCIS ที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ และมโนทัศน์เรื่อง กฎการเคลื่อนที่และแบบของการเคลื่อนที่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขนิษฐา บุญภักดี. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

จุฑามาศ ทองจันทร์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสร้างแบบจำลองเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยชัยภูมิ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2521). ระบบการผลิตชุดการสอนแผนจุฬา. จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

เนรมิตร โสภาพ. (2551). การพัฒนาชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง ดินและธาตุอาหารหลักของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

นิซูใบดะห์ กิติชัย. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แบบจำลองเป็นฐานเรื่อง บรรยากาศที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดปัตตานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2528). พัฒนาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยะณัฐ นันทการณ์. (2551). ผลของการเรียนรู้ด้วยการออกแบบที่มีต่อมโนทัศน์ทางชีววิทยา และความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณวิไล ชมชิด. (2552). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง. นิตยสารสสวท, 38(163), 33-34

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2554). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน. สถาบันพัฒนาคุณภาพ วิชาการ พว.

พัฒนพงษ์ สีกา. (2551). การศึกษาปัจจัยทีÉมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นผลมาจากการทดสอบคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2548 ของจังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2545). แนวการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ไทยวัฒนาพานิช.

มนตรี แย้มกสิกร. (2551). เกณฑ์ประสิทธิภาพในงานวิจัยและพัฒนาสื่อการสอนความแตกต่าง 90/ 90 Standard และ E1/ E2. วารสารศึกษาศาสตร์ , 19(1), 22- 34.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). มัลติมีเดียและไฮเปอร์มีเดีย. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

มนัส บุญประกอบ. (2552). การวิจัยและพัฒนาเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวทางการยกระดับคุณภาพวิทยาศาสตร์ศึกษา. รายงานการวิจัย. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

รัชนีพร แอนุ้ย สธน และคณะ .(2558). การพัฒนาชุดการสอนเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส. วารสารอัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย, 2(4), 23-34.

วนิดา ดีแป้น. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยโดยการวิเคราะห์พหุระดับช่วงชั้นที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

วนิดา ปรัชญรัตน. (2551). การพัฒนาชุดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียนแบบร่วมมือเรื่องสมบัติของจำนวนนับของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วุฒิชัย ดานะ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาใน โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดเลย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

วีณา ประชากูล และ ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมรรถ เอี่ยมพานิชกุล. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่2 โรงเรียนเมืองพญาแลวิทยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สาทิตย์ จีนาภักดิ์. (2550). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการล่องแพในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายไหม โพธิ์ ศิริ. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยใช้ชุดการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อดุลย์ คำมิตร. (2554). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนที่เน้นวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้และเทคนิคเอสคิวสามอาร์ เรื่องสารและสมบัติของสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อารยา ควัฒน์กุล. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง สารชีวโมเลกุล ด้วยการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์, 26(2), 42-55.