นวัตกรรมการผลิตรายการออนไลน์เพื่อให้ความรู้โควิด-19 สำหรับคนหูหนวก กรณีศึกษา รายการคนหูหนวกรู้ สู้โควิด Live

Main Article Content

พันธกานต์ ทานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตรายการ รูปแบบ และเนื้อหาของรายการ
คนหูหนวกรู้สู้โควิด Live โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูล 2 ส่วน คือ 1. การวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ผลิตรายการ โดยการจัดสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตรายการ จำนวนทั้งสิ้น 12 คน
และ 2. การวิเคราะห์เนื้อหารายการ โดยศึกษาจากการวิเคราะห์คลิปรายการ จำนวนทั้งสิ้น 24 ตอน รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า รายการคนหูหนวกรู้ สู้โควิด Live ถือเป็นนวัตกรรมการผลิตรายการเพื่อคนหูหนวก  
ในรูปแบบรายการสดผ่านการสตรีมมิงในเฟซบุ๊กและยูทูบด้วยภาษามือเต็มจอ โดยมีพิธีกรคนหูดี พิธีกรคนหูหนวก
และล่ามภาษามือ ดำเนินรายการร่วมกัน ผู้ชมทั้งคนหูดีและคนหูหนวกสามารถรับชมรายการไปพร้อมกันโดยไม่ต้องมีบริการเสริม เป็นการทำงานของสื่อแบบ Born Accessible ที่สร้างความเท่าเทียมให้คนหูหนวกในการรับสื่อและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ผ่าน 4 ขั้นตอนในการผลิตรายการ ซึ่งเกิดจากการวางแผน เตรียมงานจากผู้ผลิตรายการที่มีประสบการณ์การทำงานกับคนหูหนวก โดยได้สำรวจข้อมูลเพื่อศึกษารูปแบบ เนื้อหา และวิธีการนำเสนอ จากคนหูหนวก ล่ามภาษามือ และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างสรรค์รายการให้สอดรับกับความต้องการและธรรมชาติการรับสื่อของคนหูหนวกมากที่สุด คนหูหนวกเข้ามามีบทบาทและการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมใน 2 ระดับ คือ 1. การมีส่วนร่วมในฐานะผู้รับสาร 2. การมีส่วนร่วมในฐานะผู้ผลิตรายการ ส่วนรูปแบบของรายการนั้นจะวางความสำคัญในการนำเสนอของทั้งพิธีกรคนหูดี พิธีกรคนหูหนวกอย่างเท่าเทียม
มีการใช้ภาพ วิดีโอ ประกอบในรายการเพื่อสร้างความเข้าใจ รายการแบ่งช่วงรายการออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงการให้ความรู้ด้านสุขภาพจากผู้เชี่ยวชาญ กับช่วงเล่นเกมตอบคำถาม โดยผู้ชมสามารถฝากคำถามในรายการได้ 4 รูปแบบ คือ 1. ข้อความ 2. คลิปวิดีโอ 3. ถามสดร่วมจอขณะถ่ายทอดสด และ 4. คอมเมนต์ขณะถ่ายทอดสด ส่วนทางด้านเนื้อหา พบว่า รายการจะคัดเลือกประเด็นในการนำเสนอเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในช่วงที่มีวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 รวมไปถึงประเด็นสุขภาพอื่น ๆ ใกล้ตัว แล้วนำมาย่อยประเด็นให้เข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ซึ่งผู้ชมสามารถร่วมกำหนดประเด็นหรือหัวข้อ ที่สนใจมาทางรายการได้ สิ่งเหล่านี้เอื้อต่อการใช้ประโยชน์และการมีส่วนร่วมของคนหูหนวกได้อย่างเต็มที่

Article Details

How to Cite
ทานนท์ พ. (2023). นวัตกรรมการผลิตรายการออนไลน์เพื่อให้ความรู้โควิด-19 สำหรับคนหูหนวก กรณีศึกษา รายการคนหูหนวกรู้ สู้โควิด Live. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(1), 11–22. https://doi.org/10.14456/jsmt.2023.2
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2543). สื่อเพื่อชุมชน : การประมวลองค์ความรู้. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เกยูร วงศ์ก้อม. (2548). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ. เพทายการพิมพ์.

คชรักษ์ แก้วสุราช. (2563, 15 มิถุนายน). สื่อคือแสงของคนหูหนวกในช่วงวิกฤต ?. https://thisable.me/content/2020/ 06/629

คมชัดลึก ออนไลน์. (2565, 21 ตุลาคม). Big Sign ภาษามือใหญ่เต็มจอ นวัตกรรมความสุขเพื่อคนหูหนวกจาก VIPA. https://www.komchadluek.net/pr/533934

ชลลดา กิจรื่นภิรมย์สุข. (2548). การศึกษาสถานะขององค์ความรู้ ด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วมในวิทยานิพนธ์สาขานิเทศศาสตร์พัฒนาการของไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตรี บุญเจือ. (2562). คนพิการกับการเข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากกิจการโทรทัศน์. วารสารวิชาการ กสทช. ประจำปี 2562, 3(3), 121-146.

พรพรรษา พิมพ์กระจ่าง. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้บกพร่องทางการได้ยิน [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

พัชรินทร์ ผากา. (2559). นวัตกรรมรูปแบบรายการโทรทัศน์และการมีส่วนร่วมของคนหูหนวก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

มณีรัตน์ ศิริปัญจนะ. (2557). ประสิทธิผลด้านการรับรู้และความเข้าใจข้อมูลข่าวสารของคนหูหนวกจากรายการโทรทัศน์ผ่านล่ามภาษามือ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศิวนารถ หงษ์ประยูร. (2558). การพัฒนารายการข่าวทางสื่ออินเทอร์เนตทีวี (IPTV) สำหรับคนหูหนวก. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(90), 291-312.

สุดถนอม รอดสว่าง. (2561). แนวทางการเขียนบทรายการโทรทัศน์ภาษามือเต็มจอสำหรับคนพิการทางการได้ยิน. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 12(2), 325-355.

เสรี เรือนหล้า. (2543). รูปแบบและกลวิธีการดำเนินเรื่องในการจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ตามความต้องการของนักเรียน นักศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้

อลิสา ชินคงอำนาจ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับชมรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/ TU_2017_5902031334_7344_6087.pdf

voice online. (2554, 1 ตุลาคม). หัตถภาษานานาข่าว รายการข่าวของคนหูหนวก. https://www.voicetv.co.th/read/ 19584

JSL Global Media. (2564, 4 พฤษภาคม). รายการ D-มีดี EP8| นายกสมาคมคนตาบอด และคนหูหนวกทำสื่อ กับเรื่องราว .. คนพิการเสพสื่ออะไร [มีภาษามือ]. https://www.youtube.com/watch?v=ciQ9Eqnmc3o