ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและการปรับตัวในการทำงานกับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การปรับตัวในการทำงาน และประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการทำงาน ของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง จำแนกตามประสบการณ์ และระดับการศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวกับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 228 คน โดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล (2) แบบวัดคุณลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ (3) แบบวัดการปรับตัวในการทำงาน (4) แบบวัดประสิทธิผลในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows เพื่อคำนวณค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบตัวแปร และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งมีระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีประสิทธิผลในการทำงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าพนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานแตกต่างกันมีประสิทธิผลในการทำงานด้านคุณภาพแตกต่างกัน คุณลักษณะบุคลิกภาพแบบมีมโนสำนึก แบบประนีประนอม และแบบเปิดรับประสบการณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลในการทำงาน การปรับตัวในการทำงานโดยรวมและรายด้านทุกด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลในการทำงานโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
References
กล้าหาญ ณ น่าน. (2557). อิทธิพลของคุณลักษณะบุคลิกภาพ และความพึงพอใจที่มีต่อการปรับตัวในการทำงานของผู้เข้าสู่ตลาดบัณฑิตใหม่. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 31(1), 39-67.
จิตรวี มุสิกสุต. (2556). ปัจจัยทางด้านลักษณะบุคลิกภาพและคุณลักษณะงานที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวในการทำงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ชุติมา ทองไกรแก้ว. (2562). บุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบกับแรงจูงใจการให้บริการสาธารณะที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
โดม อินทรกระทึก. (2558). ความรู้ความเข้าใจและการรับรู้ในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษาอุทยาน แห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ทินพันธุ์ จงธนะภูมิพัฒนา. (2560). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษาฝ่ายส่งเสริมการตลาดและพัฒนาธุรกิจสำนักบริหารการตลาดและการขาย องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.
นิลุบล ขำคม. (2556). ผลกระทบของการปรับตัวที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีในธุรกิจส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปฐมพงค์ กุกแก้ว. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานคลังสินค้า บริษัท เอ็กซ์วายแซด
โลจิสติกส์ จำกัด. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7(1), 95-109.
ประไพพรรณ ศรีปาน. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบกับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ส่วนงานควบคุมและบริหารสินเชื่อรายย่อย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยองใย เหลืองกระโทก. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การเจรจาต่อรองกับประสิทธิผลการติดตามหนี้ของพนักงานติดตามหนี้ บริษัท กรัณฑ์การกฎหมาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ยง ภู่วรวรรณ. (2563, กรกฎาคม). ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19. โควิด-19 และระบาดวิทยา. https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=7&l=2
วัลภา สบายยิ่ง. (2542). ปัจจัยด้านการตั้งเป้าหมาย การรับรู้ความสามารถของตนเองและบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้จำหน่าย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิจัยกรุงศรี. (2564, 11 มกราคม). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2564-2566. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/industry-summary-outlook-2021-2023?#ins_sr=eyJwcm9kdWN0SWQiOiJpbnMzMzg0NTU1NjltK0M0dFNBeU5UWTBMVEkxTmpZPSJ9
สวยสม ทิพยธร. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวในการทำงาน ความผูกพันธ์ในการทำงาน และความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเจรจาการค้าบริการและการลงทุน. (2562, มีนาคม). บริการสาขาการพิมพ์ สิ่งพิมพ์และการบรรจุภัณฑ์. ศูนย์บริการข้อมูล FTA. http://ftacenter.dtn.go.th/wp-content/uploads/2020/01/Printing_publishing.pdf
สุขี อินทา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของสำนักงานการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 37-58.
สุพัฒน์ ปิ่นหอม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในหน่วยงานวิศวกรรม บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) สายธุรกิจอาหารสัตว์. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(1), 520–533.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Karthikeyan. (2012). The Relationship Between the Five Factors of Personality, Individual Job Performance and its Components in the Indian Corporate Sector. International Journal of Advanced Research in Management (IJARM), 30(1), 37-55.
Vianny Jeniston Delima. (2019). Impact of Personality Traits on Employees’ Job Performance in Batticaloa Teaching Hospital. IRE Journals, 2(12), 86-97.