หลักกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
กฎหมายเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพของประเทศไทย ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2478 ซึ่งแม้จะได้รับการแก้ไขมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังมีประเด็นที่ล้าสมัย ไม่สอดคล้องต่อมาตรฐานการชันสูตรพลิกศพในระดับสากล ขาดความเชื่อมโยง และไม่ครอบคลุมการดำเนินการจริงในทางปฏิบัติ บทความทางวิชาการฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ มุ่งศึกษาเกี่ยวกับหลักกฎหมายการชันสูตรพลิกศพในประเทศไทยกับต่างประเทศโดยศึกษาเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายที่เป็นสากล เพื่อหาแนวทางในการนำมาปรับใช้แก่กรณีปัญหาของประเทศไทย ซึ่งจากการศึกษาได้พบปัญหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 วรรคหนึ่ง ที่มิได้มีการบัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของศาลและพนักงานอัยการให้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบกระบวนการชันสูตรพลิกศพสามัญของคดีอาญาในกรณีการตายโดยผิดธรรมชาติ หากแต่บัญญัติไว้เพียงกรณีเดียวเท่านั้นที่ให้อำนาจแก่พนักงานอัยการเข้าตรวจสอบกระบวนการการชันสูตรพลิกศพ คือ การชันสูตรพลิกศพวิสามัญ แต่โดยแท้จริงแล้วการชันสูตรพลิกศพนั้นมิได้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการสอบสวนหรือการดำเนินคดี หากแต่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นก่อนและอาจนำไปสู่การสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไปได้และเป็นหลักประกันในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน
Article Details
References
กองบริหารการสาธารณสุข. (2561, 23 มีนาคม). คู่มือการดำเนินงานชันสูตรพลิกศพ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561).
http://203.157.213.6/nitikarn/web/images/Manual/perform%20postmortem%202561.pdf.
วรรณิศา เพชรสุทธิ์. (2559). บทบาทพนักงานอัยการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพผู้ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศรันยา สีมา. (2565, 23 มีนาคม). การชันสูตรพลิกศพ นิติกรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 1 สำนักวิชาการ. รายการร้อยเรื่องเมืองไทย. https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php.
สุรีพร เข็ญจวรรณ์. (2556). มาตรฐานการชันสูตรพลิกศพของประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
National Association of Medical Examiners, General Information. (2022, 17 July). www.thename.org/index.php? option=com.
National Association of Medical Examiners, (2022, 17 July). Forensic Autopsy Performance Standards. www.thename.org/index2.php?option=com_docman&task=doc_view&gid=18<emid=71.
Strauch, H., Wirth, I., and Geserick, G. Forensic Medicine in the German Democratic Republic. Forensic Science Internation. (September 2004):129
United Nations, Principles on the Effective Prevention and Investigation of Extra-legal, Arbitrary and Summary Executions, [Online] Available from : www.unhcr.org/refworld/docid/ 3ae6b39128.html. [2022, July,17]