นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และกิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลต่อ ผลการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนที่ประกอบกิจการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในประเทศไทย

Main Article Content

ชนิกานต์ พนมอุปถัมภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่คุณค่า และผลการดำเนินงาน และ 2) เพื่อศึกษาระดับการส่งผลของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่คุณค่าต่อผลการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนที่ประกอบกิจการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในประเทศไทย ประชากร ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชนที่ประกอบกิจการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในประเทศไทย การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 346 หน่วย จาก 3,413 หน่วยของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.957-0.962 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยกิจการมีนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ด้านเอกลักษณ์เฉพาะของผลิตภัณฑ์มากที่สุด กิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่คุณค่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยกิจการมีกิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่คุณค่าด้านการกระจายสินค้า และด้านการตลาดและการขายมากที่สุด และผลการดำเนินงานในภาพรวมของกิจการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยกิจการมีผลการดำเนินงานของกิจการด้านการเรียนรู้และการเติบโตมากที่สุด 2) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่คุณค่าส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกิจการ ในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ด้านการพัฒนาและแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด ด้านเอกลักษณ์เฉพาะของผลิตภัณฑ์ และด้านการบริการลูกค้า โดยสมการนี้มีความแม่นยำในการพยากรณ์หรือมีอิทธิพลร้อยละ 54.4

Article Details

How to Cite
พนมอุปถัมภ์ ช. (2022). นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และกิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลต่อ ผลการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนที่ประกอบกิจการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 5(2), 64–77. https://doi.org/10.14456/jsmt.2022.7
บท
บทความวิจัย

References

ชุติมันต์ สะสอง. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและบทบาทของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจชุมชนด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(1), 24-36.

ฑัตษภร ศรีสุข, นิฤมล หิรัญวิจิตรภรณ์ และสุบิน แก้วเต็ม. (2563). ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพื่อพัฒนาทักษะด้านการตลาดของเกษตรกรในจังหวัดล าปาง รองรับโครงการ Smart Farmer. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 14(2), 505-521.

นฤมล พุ่มฉัตร และคณะ. (2562). นวัตกรรมผลิตภัณฑ์กับความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจเครื่องสำอาง. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 5(1), 4-19.

น้ำทิพย์ ไต่เต้า. (2563). ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจสมุนไพรไทยภายใต้กรอบแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ [ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต]. วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นุจรี ภาคาสัตย์ และธีรัตม์ พิริยะพลิน. (2558). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนวัตกรรมผลิตภัณฑ์. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(2), 141-161.

บุญฑริกา วงษ์วานิช และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2564). ผลกระทบเชิงสาเหตุของความสามารถเชิงพลวัตและคุณภาพของระบบสารสนเทศต่อผลการดําเนินงานของบริษัทผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุคดิจิทัล: การศึกษาตัวแปรคั่นกลางด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการตลาด. วารสารคณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 8(2), 423-445.

ปาจรีย์ ผลประเสริฐ และกนิษฐา ศรีภิรมย์. (2565). การจัดการเชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจชุมชนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(2), 229-245.