การเปรียบเทียบกลยุทธ์การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน กับแบบถัวเฉลี่ยมูลค่าเป้าหมาย กับแบบเงินก้อน ในการลงทุนหลักทรัพย์ที่อยู่ใน SETHD

Main Article Content

สุทธิภาสน์ พงศ์เจริญวานิช
กรปรียา ใจสำราญ
บัลลังก์ จงวัฒนานุกูล
เพ็ญภัทรา เติมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (Dollar-Cost Averaging: DCA) แบบถัวเฉลี่ยมูลค่าเป้าหมาย(Value Averaging: VA) และแบบเงินก้อน (Lump Sum: LS) ในหลักทรัพย์ที่อยู่ในรายชื่อ SETHD มีจำนวน 29 บริษัท เก็บรวมรวมข้อมูลราคาหลักทรัพย์จากระบบ SETSMART ตั้งแต่ปี2560 ถึง ปี2564 มาสร้างเป็น Portfolio ได้ 27 Portfolios มีระยะเวลาการลงทุน 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี ใช้สถิติเชิงอนุมาน ทำการทดสอบด้วย Paired Sample t-Test เปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนของกลยุทธ์การลงทุนโดยเปรียบเทียบทีละคู่ เช่น DCA กับ VA, DCA กับ LS, และVA กับ LS ผลการวิจัยพบว่า  1) ระยะเวลาลงทุน 1 ปี กลยุทธ์ VA มีอัตราผลตอบแทนมากกว่า กลยุทธ์ DCA และ LS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  2) ระยะเวลาลงทุน 3 ปี กลยุทธ์ VA มีอัตราผลตอบแทนมากกว่า กลยุทธ์ DCA และ LS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ระยะเวลาลงทุน 5 ปี กลยุทธ์ VA มีอัตราผลตอบแทนมากกว่า กลยุทธ์ DCA และ LS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัย นักลงทุนรายใหม่ที่ไม่มีเวลาติดตามราคาหลักทรัพย์หรือไม่สามารถจับจังหวะซื้อขายหลักทรัพย์ได้ สามารถนำกลยุทธ์ VA ไปประยุกต์ใช้โดยลงทุนในหลักทรัพย์เป็นระยะเวลา 5 ปี เพราะว่าอัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยงมีค่าสูงที่สุด

Article Details

How to Cite
พงศ์เจริญวานิช ส., ใจสำราญ ก., จงวัฒนานุกูล บ., & เติมพันธ์ เ. (2023). การเปรียบเทียบกลยุทธ์การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน กับแบบถัวเฉลี่ยมูลค่าเป้าหมาย กับแบบเงินก้อน ในการลงทุนหลักทรัพย์ที่อยู่ใน SETHD. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(2), 30–41. https://doi.org/10.14456/jsmt.2023.12
บท
บทความวิจัย

References

กัลยวีร์ โรจน์สุขพัฒนา (2564, 29 สิงหาคม). เทคนิคการลงทุนแบบ DCA หรือ VA แบบไหนคือสไตล์เรา. Setinvestnow. https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/262-dca-or-va

เจริญ ตั้งสิริวงศ์ (2564). คุณลักษณะเด่นของนักลงทุนรายย่อยที่ไม่ขาดทุนจากการลงทุนในหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2564 [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐ เลิศมงคล (2564, 17 กันยายน). DCA สร้างความมั่งคั่งระยะยาวได้อย่างไร. Setinvestnow. https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/280-how-dca-generates-long-term-wealth

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2565, 19 ตุลาคม). ดัชนีราคา SET High Dividend 30 Index (SETHD). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET). https://www.set.or.th/th/market/index/sethd/profile

นารินทิพย์ ท่องสายชล (2564, 1 เมษายน). ลงทุนหุ้น หนทางสู่ความมั่งคั่งอย่างมั่นคง. Setinvestnow. https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/160-creating-continuing-wealth-through-investing-in-stock

มณัสวี ประทุมมินทร์ (2563). กลยุทธ์การลงทุน dollar cost averaging และ value averaging ในกลุ่มหลักทรัพย์ที่นำมาคำนวณในดัชนี SETTHSI [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชพล เนียมสำเภา (2564). กลยุทธ์การลงทุนในหลักทรัพย์ที่อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนของประเทศไทย [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เรวัต เทียมหมอก และ สุเมธ ธุวดาราตระกูล (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสบการณ์การลงทุนของนักลงทุนรายย่อยเขตภาคกลางในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วาสารรัชต์ภาคย์, 14(36), 147-162.

วรรณพร หอมศรีวรานนท์ (2563). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ยั่งยืนจากดัชนี SETTHSI กับกลุ่มหลักทรัพย์จากดัชนี SET100 ผ่านกลยุทธ์การลงทุนแบบเงินก้อน (Lump sum หรือ LS) และแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (Dollar-cost averaging หรือ DCA) [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สรชา ผกาภรณ์ (2562). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการลงทุนของกลยุทธ์การลงทุนอย่างเป็นระบบ (DCA, VA, DDCA, EDCA) กับกลยุทธ์การลงทุนแบบเงินก้อน (LS) ในหลักทรัพย์เติบโตและหลักทรัพย์คุณค่าในดัชนี SET50 ที่ใช้เกณฑ์ S&P500 growth&value index ในการคัดเลือกหลักทรัพย์ [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุมิตรา ตั้งสมวรพงษ์ (2565, 10 มีนาคม). SET Note 2/2565 การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET). https://storage.googleapis.com/sg-prd-set-mis-cms/common/ research/1064.pdf

อตินุช เฉลิมพงศ์ และ สิริกร ทรัพย์บุญเรือง (2564, 5 สิงหาคม). SET Note 7/2564 ทำความรู้จักกับนักลงทุนบุคคลใหม่ในตลาดหุ้นไทย. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET). https://storage.googleapis.com/sg-prd-set-mis-cms/common/research/428.pdf

อนันต์ กฤษฎางค์พร (2559). การศึกษากลยุทธ์การลงทุนแบบ Lump sum และ Dollar cost average ในกองทุน LTF [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัญวีณ์ อัครชมสวัสดิ์ (2562). การลงทุนหลักทรัพย์ผันผวนในดัชนี SET100 จากกลยุทธ์การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน (DCA) และการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยมูลค่าเป้าหมาย (VA) [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.