อัตลักษณ์ทางดนตรีสากลของกองดุริยางค์ทหารอากาศ

Main Article Content

ณรงค์ฤทธิ์ ปวะภูสะโก
สุพรรณี เหลือบุญชู
บำรุง พาทยกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการดนตรีดุริยางค์ทหารอากาศ (2) เพื่อศึกษา อัตลักษณ์ทางดนตรีสากลของกองดุริยางค์ทหารอากาศ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลภาคสนาม ณ กองดุริยางค์ทหารอากาศ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ข้อมูลเอกสาร และข้อมูลจากภาคสนามโดยการสัมภาษณ์ โดยการสังเกต สังเคราะห์ จัดกระทำข้อมูลเพื่อนำเสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1 กองดุริยางค์ทหารอากาศมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่เริ่มตั้งเมื่อ พ.ศ.2480 - 2565 ผู้วิจัยได้แบ่งประวัติความเป็นและพัฒนาการดนตรีสากลของกองดุริยางค์ทหารอากาศ เป็น 3 ยุค (1) ยุคเริ่มต้น ในปีพ.ศ.2480 (2) ยุคพัฒนาการดนตรี ในปีพ.ศ.2538 (3) ยุคร่วมสมัย ในปีพ.ศ.2562 - 2565 รวมถึงระบบการศึกษาดนตรีโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ มาศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล ให้เห็นประวัติความเป็นมาและพัฒนาการดนตรีสากลของกองดุริยางค์ทหารอากาศ 2. อัตลักษณ์ทางดนตรีสากลของกองดุริยางค์ทหารอากาศ ประกอบด้วย 1) ด้านบทเพลงที่สำคัญต่อกองดุริยางค์ทหารอากาศที่มีอยู่ประมาณ 200 กว่าบทเพลง แต่ผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์ 5 บทเพลง ได้แก่ (1) บทเพลงดาวพระศุกร์  (2) บทเพลงศรีอยุธยา (3) บทเพลงบ้านไร่นาเรา (4) บทเพลงมหาราชพระจอมสยาม (5) บทเพลงชัยพัฒนา 2) ด้านรูปแบบวงในการบรรเลง ได้แก่ 1) วงโยธวาทิต 2) วงหัสดนตรี 3) วงจุลดุริยางค์ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพนักดนตรีสากลของ กองดุริยางค์ทหารอากาศ การบริหารจัดการรูปแบบวงดนตรีสากล บริหารจัดการกองดุริยางค์ทหารอากาศ

Article Details

How to Cite
ปวะภูสะโก ณ., เหลือบุญชู ส., & พาทยกุล บ. (2024). อัตลักษณ์ทางดนตรีสากลของกองดุริยางค์ทหารอากาศ. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 7(1), 16–25. https://doi.org/10.14456/jsmt.2024.2
บท
บทความวิจัย

References

กองดุริยางค์ทหารอากาศ. (2552). การจัดตั้งหน่วยขลุ่ย-กลอง และขยายหน่วยขลุ่ย-กลองเป็นแตรวง. ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 69 ปี. กองดุริยางค์ทหารอากาศ. กองดุริยางค์ทหารอากาศ.

กองดุริยางค์ทหารอากาศ. (2561). รายงานประจำปีโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ. กองดุริยางค์ทหารอากาศ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน. กองดุริยางค์ทหารอากาศ.

เกษรา อินทวัฒน์. (2555). ศึกษาบทบาทหน้าที่ผลงานเพลงประจำกองดนตรี กองดุริยางค์ทหารอากาศ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2549). สังคีตนิยมความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2551). ทฤษฎีดนตรี (Music Theory) (พิมพ์ครั้งที่ 8). เกศกะรัต.

ลีลา จันสว่าง. (2556). การศึกษาความเชื่อมโยงของสื่อสังคมและอุดมการณ์ชาตินิยมกระแสสหลักผ่านสื่อละครโทรทัศน์เรื่อง ทวิภพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สมเกียรติ์ จุลโอภาส. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรนักเรียนดุริยางค์โรงเรียนดุริยางค์เหล่าทัพ.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล

สิทธิพล เครือรัฐติกาล. (2565, 2 กุมภาพันธ์). แนวคิดเรื่องประวัติศาสตร์ (history) และประวัติศาสตร์นิพนธ์ (historiography).http://kositthiphon.blogspot.com/2008/12/history-historiography.html