การยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ของเจเนอเรชัน Y และ Z

Main Article Content

วณาลัย แก้วศรี
พรพรรณ ประจักษ์เนตร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-wallet) ทัศนคติในการใช้งานและความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับเทคโนโลยี E-Wallet กับทัศนคติ และความตั้งใจซื้อสินค้าโดย E-Wallet ของเจเนอเรชัน Y และ Z ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการวิจัย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้สำหรับข้อมูลเชิงอ้างอิงผ่านการวิเคราะห์เชิงอนุมาน เพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กับการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า


ผู้ตอบส่วนมากเป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 18 – 22 ปี ศึกษาในระดับปริญญาตรี สถานะเป็นนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 5,001 – 15,000 บาท ใช้ E-Wallet ซื้ออาหาร สถานที่คือร้านสะดวกซื้อ มีความถี่ 2-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วงเวลา 12.01-18.00 น. ซื้อสินค้าราคา 100 - 500 บาท ผ่าน TrueMoney Wallet    


เมื่อวิเคราะห์สมมติฐานพบว่า ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีในการรับรู้ประโยชน์และการรับรู้ความง่ายจากการใช้งาน การรับรู้ความเสี่ยง มีอิทธิพลต่อทัศนคติ และทัศนคติมีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่น  ร้อยละ 95 เสนอแนะให้ผู้ให้บริการผลักดันนวัตกรรมทางการเงินโดยสนับสนุนปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์และความง่ายในการใช้งานสำหรับอนาคต ระวังเรื่องการรับรู้ความเสี่ยงและความไว้วางใจจากผู้ใช้งาน

Article Details

How to Cite
แก้วศรี ว., & ประจักษ์เนตร พ. (2023). การยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ของเจเนอเรชัน Y และ Z. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(3), 20–30. https://doi.org/10.14456/jsmt.2023.19
บท
บทความวิจัย

References

จิรภา รุ่งเรืองศักดิ์. (2558). การศึกษาการยอมรับและการรับรู้ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความไว้วางใจใน การใช้บริการระบุ ตำแหน่ง (Location-based Services: LBS) ของผู้ใช้บริการในเขต กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จิรวัฒน์ วงศ์ธงชัย. (2555). ปัจจัยด้านการรับรู้ที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีบาร์โค้ดสองมิติของผู้ใช้งานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุรนารี.

ชยาภรณ์ กิติสิทธิชัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธรรมทัช ทองอร่าม. (2560, 24 พฤศจิกายน). ประชากรไทย GenY ใหญ่สุด พฤติกรรมสร้างโอกาส-ความเสี่ยง. ฐานเศรษฐกิจ.

นิธินาถ วงศ์สวัสดิ์ และ ปวีณา คำพุกกะ. (2557). ความตั้งใจใช้บริการของผู้ซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(2), 12-32.

พัชสิรี ชมภูคำ และ ณัฐธิดา จักรภีร์ศิริสุข. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและแรงจูงใจในการทำงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบคนเจเนอเรชัน Y และเจเนอเรชัน Z ในเขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(3), 1-18.

เฟลชแมน ฮิลลาร์ด. (2563). เฟลชแมน ฮิลลาร์ด เปิดสำรวจ เจาะลึกความคิดผู้บริโภคหลังวิกฤต COVD-19 เผย "มุมมอง" และ "ความเข้าใจ" ของผู้คนที่มีต่อโลกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง.

วัชรากร ร่วมรักษ์. (2560,24 พฤศจิกายน). Mobile Wallet กระเป๋าเงินดิจิทัลในยุคสังคมไร้เงินสด. https://cutt.ly/C2BdqGB

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Prentice-Hall.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS quarterly, 13(3), 319-340.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. Harper & Row.