การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ปณิธาน ศรีประเสริฐ
นภาภรณ์ ธัญญา
ศิลปชัย บูรณพานิช

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้การเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซตาล โคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80 (3) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซตาล โคดาย กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซตาล โคดาย , แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ , แบบทดสอบทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้การทดสอบ ทีแบบกลุ่มเดี่ยว ( One-Sample T-Test)


          ผลการวิจัยพบว่า


         ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.17/88.33 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ย รีคอร์ดเดอร์ตาม แนวคิดโซลตาล โคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80 แบ่งได้เป็น 2 ตอนดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนรู้เรื่องการเป่า ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สูง กว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 , ทักษะการเป่าขลุ่ย รีคอร์ดเดอร์หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม การเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สูงกว่า เกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .05 (3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ที่อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ศรีประเสริฐ ป., ธัญญา น., & บูรณพานิช ศ. (2024). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 7(3), 73–82. https://doi.org/10.14456/jsmt.2024./25
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กาญจนา อรุญสุขรุจี. (2549). ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรอำเภอไชยปราการจังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เครือวัลย์ สุขเจริญ. (2551). การสอนดนตรีสากล. พีระพัธนา.

เจษฎา ประทุมมา. (2559). การพัฒนาการจัดกิจกรมการเรียนรู้แบบรวม-แยกรวมเน้นทักษะการเล่นแบบจับคู่ในวิชา ดนตรีสากลปฏิบัติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ดวงกมล ฉัตรบุญลือเดช. (2551). ขลุ่ยรีคอร์เดอร์เบื้องต้น. เอ็มไอเอส.

เดชาชัย สุจริตจันทร์. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรีเรื่องการอ่านโน้ตสากลเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนตามวิธีสอนของโคดายกับวิธีสอนปกติ . [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2543). พฤติกรรมการสอนดนตรี. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล. (2545). ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนดนตรีสากลขั้นพื้นฐาน ตามแนวคิดของโคดายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. ตักสิลาการพิมพ์

ภนิดา ชัยปัญญา. (2541). การวัดความพึงพอใจ. แสงอักษร

ล้วน สายยศ. (2540). สถิติวิทยาการวิจัย. สุวิริยาสาสน์.

พงษ์ลดา นาควิเชียร. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรีสากลขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการสอนตามแนวคิดของโคดาย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

ฤทธิรงค์ ไชยสุข. (2552). การพัฒนาเทคนิคการสอนและสื่อการสอนขลุ่ยรีคอร์เดอร์สําหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพายัพ.

วิไลพร ภูมิเจต์. (2560). การพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออโดยใช้กระบวนการปฏิบัติประกอบแบบฝึกทักษะ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Bloom, Benjamin S. (1976). Taxonomy of Educational Objectives. David Mckay.

Calleen. (1994). Educational Media : A Competency-based Approach. CharlesMexcrill.

Rochelly Gayl Mann. (1991). Response to Music : Principles of music Education. Routledg and Kegal Payl.