การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อส่งเสริมทักษะ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ และ 2) วัดประสิทธิผลด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 11 จำนวน 18 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ( Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินนวัตกรรรมการเรียนรู้การสื่อสารภาษาอังกฤษ และ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 4 ด้าน คือ ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการประเมินคุณภาพนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดจันทบุรี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
2) นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่เรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกมีประสิทธิผลทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (24 สิงหาคม 2561) . “ผู้นำเชิงสร้างสรรค์” เดลินิวส์. หน้า 23.
ชัยเลิศ พิชิตพรชัย. (2561,20 กันยายน). นวัตกรรมการเรียนรู้คืออะไร. https://il.mahidol.ac.th/th/iLearning - Clinic/generalarticles.
ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
นันทิยา น้อยจันทร์. (2563). การออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านภาษาอังกฤษสําหรับเด็กปฐมวัย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(6), 273-284.
ปริยานุชวุฒิ ชูประดิษฐ์ และสุภัทร ชูประดิษฐ์. (2564). จิตวิทยาเชิงบวก: กลยุทธ์เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(1),1-14.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2561). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2564). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 13). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
อารี พันธ์มณี. (2544). จิตวิทยาการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5). เลิฟแอนด์ ลิพเพรส จำกัด.
Bellanca, J., Brandt, R. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn.Solution Tree Press.
Luthans, F., Vogelgesang, G.R., & Lester, P.B. (2006). Developing the psychological capital of resiliency. Human Resource Development Review.