ทบทวนรูปแบบแผนงานโครงการสนับสนุนการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ตามบทบาทนายทะเบียนกลาง จังหวัด ปี 2563 - 2565

Main Article Content

สมศักดิ์ กรีชัย
วรรณชนก คงลอย
จิรานุวัฒน์ หอมบรรเทิง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนรูปแบบแผนงาน โครงการสนับสนุนการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยตามบทบาทนายทะเบียนกลาง/จังหวัด ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2565 ผ่านกลไกการสนับสนุนงบประมาณของกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นโครงการสำคัญตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ในการคุ้มครองและสนับสนุนการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพประชาชนอย่างเป็นระบบ ใช้วิธีการเก็บรวบรวม กำหนดประเด็นวิเคราะห์และประเมินข้อมูล จากเอกสาร ได้แก่ รายงานผลการดำเนินงานโครงการ สรุปผลการติดตามความก้าวหน้าและการจัดเวทีสรุปบทเรียนการทำงานของสำนักงานนายทะเบียนกลางและจังหวัดทั่วประเทศ กำหนดแนวทางการวิเคราะห์และประเมินผลโครงการตามตัวแบบ CIPP Model ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ที่เกิดขึ้น พบว่า ด้านบริบทของแผนงานมี 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักงานนายทะเบียนกลาง/จังหวัด และ การส่งเสริมการนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ด้านปัจจัยนำเข้า มีการกำหนดบุคลากร ระยะเวลาการดำเนินงานและงบประมาณรายกิจกรรมทุกจังหวัด ด้านกระบวนการ มีการสื่อสารเชิงนโยบายสู่ผู้นำขององค์กร และพัฒนาปรับปรุงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมย่อย และด้านผลผลิตของการดำเนินงาน สำนักงานนายทะเบียนจังหวัดทั้งประเทศมีการจัดทำทะเบียนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ได้แก่ ตํารับยาแผนไทย 22,381 รายการ และตําราการแพทย์แผนไทย 364 รายการ นําภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยไปสู่การใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจระดับชุมชนด้านต่างๆ 1,117 รายการ มีข้อมูลทะเบียนบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย รวม 13,696 ราย และจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล 39 คำขอ การสนับสนุนงบประมาณของกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยสะท้อนถึงความคุ้มค่าในการปกปักรักษาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและความเป็นสมบัติของชาติและผลักดันการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการสูญหายและการนําเอาไปใช้ประโยชน์ส่วนตน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 กำหนด

Article Details

How to Cite
กรีชัย ส., คงลอย ว., & หอมบรรเทิง จ. (2023). ทบทวนรูปแบบแผนงานโครงการสนับสนุนการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ตามบทบาทนายทะเบียนกลาง จังหวัด ปี 2563 - 2565. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(2), 10–17. https://doi.org/10.14456/jsmt.2023.10
บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2564). รวมพระราชบัญญัติและกฎหมายลำดับรองพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์ พุ่มทอง.

ปวริศร เลิศธรรมเทวี. (2561). ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 3). สํานักพิมพ์วิญูชน.

รุจินาถ อรรถสิษฐ และคณะ. (2565). การวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์บูรณาการใช้ประโยชน์ในระบบสุขภาพไทย (ภาพรวม). กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.

สำนักงานบริหารกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. (2560). รายงานผลการดำเนินงานโครงการที่กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย สนับสนุน พ.ศ. 2557 - 2559 .สำนักพิมพ์จุฑาเจริญทรัพย์.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2546). การประเมินโครงการแนวคิดและแนวปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3 ).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP Model for Evaluation. Springer Netherlands