ปัจจัยที่แสดงถึงเอกลักษณ์ในภาพยนตร์ของ สมโพธิ แสงเดือนฉาย

Main Article Content

นนทยา ณ สงขลา
บรรจง โกศัลวัฒน์
ปัทมวดี จารุวร
สุชาติ โอทัยวิเทศ
เจตน์ศักดิ์ แสงสิงแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เอกลักษณ์ในการสร้างงานในภาพยนตร์ของสมโพธิ แสงเดือนฉาย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกที่มีความเกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ในการสร้างงานภาพยนตร์ของสมโพธิ แสงเดือนฉาย โดยศึกษาช่วงชีวิตของสมโพธิ แสงเดือนฉาย ตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก, ช่วงเริ่มเรียนรู้การสร้างภาพยนตร์ จนถึงช่วงสร้างภาพยนตร์ โดยศึกษาเอกลักษณ์ในการสร้างตัวละครและเทคนิคพิเศษของสมโพธิ แสงเดือนฉาย ที่สร้างชื่อเสียง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purbability Sampling) ได้แก่ ผลงานภาพยนตร์ของสมโพธิ แสงเดือนฉาย ทั้งหมด 17 เรื่อง โดยคัดเลือกภาพยนตร์ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดตามเกณฑ์ โดยมีจำนวนทั้งหมด 4 เรื่อง ดังต่อไปนี้ 1. พ.ศ. 2516 ท่าเตียน  2. พ.ศ. 2517 ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ 3. พ.ศ. 2517 หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ 4.พ.ศ. 2528 กิ้งก่ากายสิทธิ์ และรับรางวัลต่าง ๆ ผู้วิจัยคำนึงถึง 1.ประโยชน์เชิงวิชาการหรือเชิงปฏิบัติเนื่องจาก การวิจัยนี้เป็นเป็นกรณีศึกษา (Case Study) ซึ่งมุ่งศึกษาวิเคราะห์ชีวิตและผลงานของสมโพธิ แสงเดือนฉาย ซึ่งเก็บเกี่ยวสิ่งที่ผ่านเข้ามาในประสบการณ์ชีวิตจนสามารถนำมาเป็นแนวทางสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งอาจนำไปประยุกต์ใช้แนวคิดในการสร้างภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาจมาจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งในการดำเนินชีวิตของผู้กำกับท่านนั้น ๆ 2. ประโยชน์เชิงวิชาการ ความรู้จากการศึกษากรณีสมโพธิ แสงเดือนฉาย เป็นการเพิ่มพูนข้อมูลในการศึกษาในวงการประวัติภาพยนตร์ไทย


            ผลการวิเคราะห์พบว่า เอกลักษณ์ในภาพยนตร์ลักษณะความเป็นแฟนตาซี จากภาพยนตร์ทั้ง 4 เรื่องโดยมีความมหัศจรรย์ เวทมนตร์ และเรื่องเหนือธรรมชาติ ความเป็นแฟนตาซีจากนิทานท้องถิ่น เป็นฉากของโลกจริงแต่มีการเกิดของสิ่งเหนือธรรมชาติต่าง ๆ เช่น สัตว์พูดได้ ตัวละครที่ดัดแปลงจากจากนิทานท้องถิ่น และมีการใช้เทคนิคพิเศษ โทคุซัทสึ ภาพยนตร์ที่แสดงด้วยมนุษย์จริงหรือละครโทรทัศน์ที่ใช้เทคนิคพิเศษสร้างฉากบ้านเมืองขนาดเล็กเพื่อใช้ในการถ่ายทำ เป็นการสร้างภาพเทคนิคพิเศษ ประเภทของการสร้างภาพเทคนิคพิเศษ การจําลองฉากหรือตัวละครแบบย่อส่วน หรือถ่ายทําวัตถุที่มีขนาดแตกต่างจากวัตถุจริง ด้วยการสร้างการ เคลื่อนไหวให้ดูสมจริงร่วมกับนักแสดง และใช้เอฟเฟกต์ระเบิด สะเก็ดไฟ เพื่อเพิ่มความสมจริง ปัจจัยภายใน ในการสร้างงานของสมโพธิ ประกอบไปด้วย ความเชื่อในพระพุทธศาสนา เชื่อในคำสอนทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว สนใจในวรรณคดีและเรื่องเล่าตำนานต่าง ๆ จึงพบเห็นเรื่องราวในภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับนิทาน ตำนานเรื่องเล่า ความดีความชั่ว ความเสียสละ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมความเชื่อของไทย ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการสร้างงานของสมโพธิคือ การเติบโตในครอบครัวที่ดำเนินกิจการด้านการถ่ายภาพ เข้าเรียนวิทยาลัยในสาขาถ่ายภาพ มีโอกาศศึกษาดูงานทางด้านเทคนิคภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ลักษณะงานของสมโพธิมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม เรื่องเล่า ความเชื่อแบบไทย และการใช้เทคนิคกลไก การจำลองฉากแบบละครญี่ปุ่น


            สรุปเอกลักษณ์ที่ปรากฏในภาพยนตร์ของสมโพธิ มาจากปัจจัยภายในตั้งแต่ยังเด็กที่ไปศึกษาที่วัดจึงมีความเชื่อเรื่องพระพุทธศาสนา เวทย์มนตร์ เรื่องเหนือธรรมชาติ และความชอบในการถ่ายภาพและการดูหนังกลางแปลง ปัจจัยภายนอกมาจากการศึกษาที่มีแรงผลักดันมาจากปัจจัยภายในที่ถูกปลูกฝังมา ทำให้สมโพธิ ให้ความสนใจในเรื่องของการถ่ายภาพและภาพยนตร์ อีกทั้งได้เรียนรู้เทคนิคการถ่ายทำจากญี่ปุ่น ทำให้มีเอกลักษณ์ทางด้านเทคนิคการสร้างฉากจำลอง การจำลองพร๊อบ การสร้างชุดยางคาแรคเตอร์ มีการเล่าเรื่องที่สนุกสนาน มีความเป็นแฟนตาซี แต่เมื่อเทคโนโลยีทางด้านเอฟเฟ็กต์แอนิเมชั่นมีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น โครงเรื่องที่ซ้ำเดิมไม่แปลกใหม่ทำให้ มีการใช้ฟุตเทจเดิมนำมาตัดต่อใหม่ ทำให้การสร้างงานในลักษณะจำลองฉากจึงเป็นที่สนใจน้อยลง

Article Details

How to Cite
ณ สงขลา น., โกศัลวัฒน์ บ., จารุวร ป., โอทัยวิเทศ ส., & แสงสิงแก้ว เ. (2024). ปัจจัยที่แสดงถึงเอกลักษณ์ในภาพยนตร์ของ สมโพธิ แสงเดือนฉาย. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 7(2), 30–39. https://doi.org/10.14456/jsmt.2024.12
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ แนวคิดและเทคนิค. เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด

ขจร ฝ้ายเทศ. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานของผู้ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง ลพ บุรีรัตน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขจีรัตน์ หินสุวรรณ. (2540). การวิเคราะห์วิธิการเขียนบทละครสำหรับสื่อมวลชน:บทเรียนจากงานของสมสุข กัลย์จาฤก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรจง โกศัลวัฒน์. (2543). การกำกับและการแสดงภาพยนตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เบญจา ยอดดำเนิน แอ็ตติกส์ และคณะ.(2541). การศึกษาเชิงคุณภาพ: เทคนิคการวิจัยภาคสนาม.โครงการเผยแพร่ข่าวสารและการศึกษาด้านประชากร. มหาวิทยาลัยมหิดลม.

ปนัดดา สดุดีวิถีชัย. (2545). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเด็กแนวแฟนตาซีของโรอัลด์ ดาห์ล กับ มิชาเอล เอนเดอ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชญา แหลมหลวง. (2561, 23 มีนาคม). การเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์. https://www.scribd.com. 2561

พิสณฑ์ สุวรรณภักดี. (2555). ความเป็นประพันธกรในภาพยนตร์ของ อังเดร ทาร์คอฟสกี้. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาโนช ชุ่มเมืองปัก. (2547). การเล่าเรื่องของภาพยนตร์ตลกไทยยอดนิยมชุด "บุญชู" กับการสร้างสรรค์ของผู้กำกับภาพยนตร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิสิทธิ์ อนันต์ศิริประภา. (2547). ชีวิตและผลงานของยุทธนา มุกดาสนิท : การต่อรองของความเป็นผู้กำกับภาพยนตร์กับระบบธุรกิจภาพยนตร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรังสิต.

วรรณี สําราญเวทย์. (2537). เอกสารการสอนชุดวิชาการผลิตภาพยนตร์ขั้นสูง หน่วยที่ 1-7 สาขาวิชานิเทศศาสตร์. สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

วิศิษฎ์ ศุภางคะรัตน์. (2549). การสร้างภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์โดยใช้ทฤษฎีแฟนตาซี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรายุทธ กุลราช. (2557). ธรรมชาตินิยมในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ของฌอง-ปิแอร์ ดาร์เดนน์ และลุค ดาร์ เดนน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2542). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่8). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อวยพร แสงคำ. (2557). ลักษณะเด่นของนวนิยายไทยที่มีตัวละครเป็นครุฑและนาค. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุสรณ์ ศรีแก้ว. (2534). ปัญหาสังคมในภาพยนตร์ของ มจ.ชาตรีเฉลิม ยุคล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Frank Eyre. (1971). British Chidren’s Book in the Twentieth Century. Longman Group,

Kenneth J.Zahorski and Robert H. Boyer. (1994). The Aesthetice of Fantasy Literature and Art.Roger C.Schlobin.