การเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ

Main Article Content

ธราพงศ์ ลิ้มสุทธิวันภูมิ
กฤษณนันท์ นันจรูญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาการเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ และแนวคิดใหม่เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ การวิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพผู้เขียนใช้วิธีการสัมภาษณ์จากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตัวแทนของผู้สูงอายุที่เกษียณอายุจากราชการแล้วจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 30 คน  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่ม A ผู้สูงอายุที่เกษียณอายุจากราชการแล้วจำนวน 25 คน  และกลุ่ม B นักวิชาการที่ทำงานวิจัยทาง ด้านผู้สูงอายุ จำนวน 5 คน


ผลการวิจัยพบว่า


คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุหลังเกษียณจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้  1. ทางด้านร่างกาย คือร่างกายมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ   2. ทางด้านจิตใจ คือการยอมรับสภาพทางจิตใจของตัวเอง เช่นมีความมั่นใจในตัวเอง การมองโลกในด้านบวกเสมอ  3. ระดับความอิสระของบุคคล คือการที่ผู้สูงอายุมีความอิสระทางด้านการเงินไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น 4. ทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม คือการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ๆ ในสังคมบ้าง การได้ช่วยเหลือผู้อื่นที่ด้อยกว่าเรา 5.ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน คือการที่ผู้สูงอายุมีบ้านที่อยู่อาศัยปลอดภัยในสภาพแวดล้อมที่ดี ปราศจากมลพิษ การคมนาคมสะดวก  นอกจากนี้ยังเป็นแนวคิดใหม่ด้วยการแสดงเป็นภาพพบว่า ผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นประกอบด้วยหลังคาบ้านที่แสดงถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี  เสาทั้ง 4 ของบ้าน หมายถึง 1) การมีความสุขทางด้านจิตใจ  2) การมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ ผู้สูงอายุสามารถแสดงพฤติกรรมที่ตนปรารถนาได้  3) สิ่งแวดล้อมที่เป็นเป้าหมายคือ มีที่อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี มีเพื่อนบ้านและครอบครัวที่ดีพร้อมเกื้อหนุน และอยู่ใน วัฒนธรรมของผู้สูงอายุด้วยกันที่เข้าใจซึ่งกันและกัน  4) การรับรู้คุณภาพชีวิต คือการมีความพึงพอใจ ทั้งจิตใจและ ความสามารถในการทำหน้าที่การงาน  และเสาเข็มคือการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่นสวัสดิการรักษาพยาบาล  การสร้างที่อยู่อาศัย และได้รับเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือน

Article Details

How to Cite
ลิ้มสุทธิวันภูมิ ธ., & นันจรูญ ก. (2024). การเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 7(2), 79–87. https://doi.org/10.14456/jsmt.2024.16
บท
บทความวิจัย

References

กันยารัตน์ อุบลวรรณ. (2540). พฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคกลางของประเทศไทย.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

กรมสุขภาพจิต. (2564, 25 พฤศจิกายน). ก้าวย่างของประเทศไทย “สู่สังคมผู้สูงอายุ”อย่างสมบูรณ์แบบ. http://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476

จีรนุช สมโชค. (2540). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธมนวรรณ รอดเข็ม. (2011). การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหลังรับเงินเบี้ยยังชีพ:กรณีศึกษาดูงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บรรลุ ศิริพานิช. (2549). พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่อายุยืนยาวและแข็งแรง. สามดีการพิมพ์.

ผู้จัดการ ออนไลน์. (2565, 4 มกราคม). มส.ผส. ภาคีเครือข่าย สสส. - นักวิชาการ เผยปี 2565 ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์. https://mgronline.com/qol/detail/9650000011724

พระครูภัทรปัญญาคุณ (เวียงแซ่อุ้ย). (2560). การศึกษาความต้องการได้รับสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลหัวไทรอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วนัสนันท์ แฮคำ. (2553). การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ชุมชน เทศบาลตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 (2560-2564). http//www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6421 [2019, 10 oct.]

Lawton, M. P. (1985). The elderly in context: Perspectives from environmental psychology andgerontology. Environment and Behavior, 17(1), 501–519.

Pender. N. J., & Pender, A. R. (1987). Health promotion in nursing practices (2nd ed). Connection: Applet on Lange.

UNESCO. (1978). Quality of life : An orientation to population education. n.p,

Young, K. J., & Longman, A. J. (1983). Quality of life and person with melanoma : A pilot study. Cancer Nursing, 6(2), 219-226.