ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้โดรนเพื่อการทำนาของเกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้โดรนเพื่อการทำนาของเกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่จังหวัดปทุมธานี เป็นการการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวแปร ที่มีการให้ค่าเป็นตัวเลขและใช้วิธีการทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างเป็น เกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 329 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสอบถามแบบปลายปิด จำนวน 63 ข้อ วัด 7 ปัจจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอนุมาน รวมถึงการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยสมการเชิงโครงสร้าง (SEM) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร และพิสูจน์สมมติฐานงานวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
การยอมรับและการใช้งานจริงของเทคโนโลยีในภาคการเกษตร มีปัจจัยจากทัศนคติและการตั้งใจในการใช้งาน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากความรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ภายในปัจจัยดังกล่าวยังมีตัวชี้วัดสำคัญคือ 1) ความเหมาะสมของงานและเทคโนโลยี (Task Technology Fit) ตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดคือประโยชน์ที่รับรู้จากเทคโนโลยี ตามด้วยลักษณะของเทคโนโลยีและลักษณะงาน 2) ปัจจัยภายนอก (External Environment) ตัวชี้วัดที่มีผลต่อมากที่สุดคือราคา สิ่งอำนวยความสะดวก กฎหมาย และความรู้ 3) อิทธิพลทางสังคม (Social Influence) ตัวชี้วัดที่ส่งผลมากที่สุดในด้านนี้คือการทดลองใช้งานเทคโนโลยี การตื่นรู้ การสนใจ และการประเมินผลเทคโนโลยี การวิจัยนี้มีประโยชน์ในการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในภาคการเกษตร โดยสร้างทัศนคติที่ดีต่อเทคโนโลยีให้เกิดการยอมรับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 (นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ, 2563) ของรัฐบาล จากการวิจัยนี้พบว่าการรับรู้ประโยชน์ของเทคโนโลยีต่อการทำนาไม่มีความสัมพันธ์กับการตั้งใจในการใช้งานและพบว่าทัศนคติของเกษตรกรจะเลือกใช้เทคโนโลยีง่ายต่อการใช้งาน ไม่ซับซ้อน ราคาเหมาะสม และได้รับการทดลองใช้งานแล้ว
Article Details
References
ธงชัย วจะสุวรรณ และเจษฎา วงศ์แสนสุขเจริญ. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความตั้งใช้โดรน เพื่อการเกษตร, วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(1), 143-157.
นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ. (2563). นโยบายเทคโนโลยีการเกษตร 4.0 (Farming 4.0 Policy). สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
พงศ์เทพ จิระโร. (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อกำหนดมโนทัศน์และกลยุทธ์ส่งเสริมการทำวิจัย ,วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 20(1), 59-79.
สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม. (2562, 5 กันยายน). 5 Disruptive Digital Technology. จาก https://ifi.nia.or.th/.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565, 2 กุมภาพันธ์ ). สัมมนา Year End ประจำปี แถลงบทสรุปภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2565 และแนวโน้มปี 2566. https://www.oae.go.th/view/1
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561, 10 สิงหาคม). การปรับโครงสร้างการผลิตเป็นแปลงใหญ่. https://www.oae.go.th/maim.php?filename=csr
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. 2562. โดรนกับเกษตรไทย Tech Series: Drone for Smart Farming. แหล่งข้อมูล: https://www.depa.or.th/. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2565
อันนตพร วงศ์คำ และคณะ. (2021). การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคเกษตรกรรม: กรณีศึกษาเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 9(1), 253-264.
Dishaw, M.T.& Strong, D.M. (1998). Extending the technology acceptance model with task-technology fit Constructs. Information & Society, 21(2), 13-27.
F. D. Davis. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-339.
Goodhue, D.L. & Thompson, R.L. (1995). Task-Technology Fit and Individual Performance. MIS Quarterly. 19(2), 213-236.
Roger, E.M. (1983). Diffusion of innovations. The Free Press.