นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ดนตรีปฏิบัติออนไลน์ในประเทศไทยเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางดนตรี

Main Article Content

รุ่งเกียรติ สิริวงษ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ 2.เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้การเรียนด้วยนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนดนตรีออนไลน์ (กลองชุด)  3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติทางดนตรีก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนต่อการใช้สื่อการเรียนรู้ (กลองชุด) ออนไลน์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 4. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบเจาะจง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเท่านั้น ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนทั้งหมด 15 โรงเรียน เป็นจำนวน 30 คนได้มาโดยวิธีการ คัดเลือกจากครูผู้สอนดนตรีที่ประจำในโรงเรียน โดยนักเรียนต้องผ่านการเรียน มีความรู้ด้านดนตรีทฤษฎีและมีพื้นฐานปฏิบัติกลองชุดที่มีคะแนนสูงสุดด้านการเรียนดนตรีจากการเรียนดนตรีที่โรงเรียนต้องอยู่ระดับมัธยมศึกษาปลายเท่านั้น  และมีความพร้อมที่จะเรียนรู้นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้กลองชุดออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เรื่อง ทักษะการปฏิบัติกลองชุดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติกลองชุดของนักเรียน หลังจากเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 4) รูปแบบการเรียนการสอน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า E1 / E2 และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่าt-test แบบ Dependent Samples Test


ผลการวิจัยพบว่า


  • สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติดนตรีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์38/90.89

  • หลังการเรียนด้วยนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนดนตรีออนไลน์ (กลองชุด) สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  • นักเรียนมีทักษะที่สูงขึ้นหลังจากการใช้นวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนดนตรีออนไลน์ (กลองชุด)โดยรวมอยู่ในระดับมาก

  • ประสิทธิผลของสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติดนตรีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ .50 และงานวิจัยชิ้นนี้ ได้รับรางวัล Silver Medal ในงานประกวด 2023 The Third AII American Davinci International Innovation and Invention Expo ระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2566 ณ Southern Utah University ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลงาน "Innovative Online Music Teaching Media (Drum Set)"

Article Details

How to Cite
สิริวงษ์สุวรรณ ร. . (2023). นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ดนตรีปฏิบัติออนไลน์ในประเทศไทยเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางดนตรี. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 6(3), 81–91. https://doi.org/10.14456/jsmt.2023.24
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา วงศ์คำจันทร์. (2551). ชุดการสอนการปฏิบัติกีต้าร์ในวิชาทักษะดนตรี 1 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล.(2561). “การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ ู กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของ Plsek ร่วมกับทฤษฎีเชาวน์ปัญญาสามองค์ประกอบของ Sternberg เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). ไอซีทีเพื่อการศึกษา.กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.

เฉลิมพล ภูมิรินทร์.(2550). “การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บแบบผสมผสาน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง "อายุทางธรณีวิทยา ซากดึกดำบรรพ์และการลำดับชั้นหิน" สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย [ช่วงชั้นที่ 4]. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิระนันท์ โตสิน. (2557). การพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติไวโอลินด้วยวิธีการเลียนระดับเสียงเปียโนสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 16(2), 59-67.

รพีพล หล้าวงษา. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาดนตรีตะวันตก โดยใช้ชุดการสอนการปฏิบัติกีตาร์เบื้องต้น สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์). บทความฉบับเต็มการประชุมวิชาการเสนอ ผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 34 วันที่ 27 มีนาคม 2558. (น.1894-1902). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลาวัณย์ ดุลยชาติ, รศรงค์ พัฒนาอนุสรณ์ และสุดารัตน์ สุขเจริญ. (2558). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเลือกซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงานสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(2), 47-55.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์, (2560). วิธีวิทยาการสอนดนตรี (พิมพ์ครั้งที่2). พรรณีพริ้นติ้งเซ็นเตอร์.

ณัฐกร สงคราม. (2554) การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ สายแวว. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้เรื่องโน้ตดนตรีสากลเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 8(1), 85-96.

วัจนกร สารแขวีระกุล. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะปฏิบัติดนตรีโปงลาง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

Clark R. C., Mayer R. E. (2003). E-learning and the science of instruction. Jossey-Bass.