จิตวิญญาณอีสานในรูปแบบจิตรกรรมร่วมสมัย

Main Article Content

จิตติพันธ์พชร ธรรมพัฒนกุล

บทคัดย่อ

อุษาคเนย์เป็นภูมิภาคที่อุดมด้วยศิลปวัฒนธรรม ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ ความศรัทธา ตามที่ปรากฏบนศิลปวัตถุและผลงานทางศิลปกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ รวมถึงฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน) เป็นผลงานที่แฝงด้วยคติธรรม  คำสอน สภาพแวดล้อม สังคม วิถีชีวิต พิธีกรรมต่างๆ ที่สะท้อนความเป็นอยู่ของบรรพชนในอดีต สิ่งเหล่านั้นได้ถูกคัดสรรหลอมรวมให้เกิดเป็นผลงานการสร้างสรรค์ทางจิตวิญญาณจนตกผลึกเป็นมรดกที่มีความงดงามมีคุณค่าปรากฏต่อสายตาและจิตใจ    จากเหตุผลดังกล่าวส่งผลให้ผู้สร้างสรรค์มีความซาบซึ้งต่อเรื่องราวและความเป็นมาของแผ่นดินอีสานที่ถูกแสดงออกผ่านรูปแบบของผลงานจิตรกรรมฝาผนัง จึงสร้างสรรค์ผลงานทางทัศนศิลป์ชุด “จิตวิญญาณอีสานในรูปแบบจิตรกรรมร่วมสมัย” มีรูปแบบ เป็นจิตรกรรม 2 มิติ เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ จากกระบวนการสร้างสรรค์ค้นพบว่าการนำรูปทรงจากฮูปแต้มมาจัดองค์ประกอบ  ให้วางทับซ้อนกับภาพถ่ายใบหน้า (Portrait) ของผู้คนอีสานในอดีตเพื่อสร้างมิติแสดงให้เกิดชุดความคิดและความรู้สึกใหม่ สามารถตอบสนองแนวความคิดและความรู้สึกถึงการรำลึก เชิดชู ต่อจิตวิญญาณของบรรพชนรวมถึงผู้ที่ให้กำเนิด ผ่านรูปแบบและกลวิธีของการสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
ธรรมพัฒนกุล จ. (2024). จิตวิญญาณอีสานในรูปแบบจิตรกรรมร่วมสมัย. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 7(1), 93–101. https://doi.org/10.14456/jsmt.2024.9
บท
บทความวิชาการ

References

ชลูด นิ่มเสมอ. (2563). องค์ประกอบของศิลปะ (พิมพ์ครั้งที่2). ไทยวัฒนาพานิช.

พีระพงศ์ สุขแก้ว. (2549). สุนทรียศาสตร์บนฝาผนัง : อลังการแห่งจิตรกรรมไทย. บริษัท โหลทอง มาสเตอร์พริ้น จำกัด.

ไพฑูรย์ พัฒน์ใหญ่ยิ่ง. (2541). สุนทรียศาสตร์ แนวความคิด ทฤษฎีและการพัฒนา. เสมาธรรม.

ไพโรจน์ สโมสร. (2532). จิตรกรรมฝาผนังอีสาน. อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ.

สมชาย ณ นครพนม และคณะ. (2562). ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีสาน. สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สรวิชญ์ วงษ์สะอาด. (2557). ความงามของศิลปะตามทัศนะของเพลโต. https://www.gotoknow.org/posts/566038.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2560). วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). เรือนแก้วการพิมพ์.

อันธิฌา แสงชัย. (2547). สุนทรียศาสตร์ ศาสตร์แห่งสุนทรียะ. นิตยสารไฟน์อาร์ต, 1(7), 50-52.

อิทธิพล ตั้งฉโลก. (2550). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. อมริทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.