ระบบนิเวศการเรียนรู้ของนักเรียนกับภาวะความพร้อมการศึกษาไทย

Main Article Content

ธีระ ราชาพล

บทคัดย่อ

 “ระบบนิเวศทางการเรียนรู้” เป็นแนวทางการเรียนรู้ยุคใหม่ ที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในระบบการศึกษา ทำให้ระบบการเรียนรู้มีความเป็นพลวัตรและมีความสัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ มากขึ้น เสมือนระบบนิเวศของธรรมชาติที่แต่ละหน่วยต่างเกื้อหนุนส่งเสริมระหว่างกันอย่างเป็นระบบ การศึกษาไทยมีการตื่นตัวและจัดเตรียมความพร้อมรับมือการเรียนการสอนออนไลน์ทั้งในส่วนของระบบการเรียน ครูผู้สอนและนักเรียน ซึ่งต้องยอมรับว่าระบบการศึกษาไทยยังมีความไม่พร้อมและยังมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านการเรียนรู้ 5ด้าน 1.คน(People)  2.เนื้อหา (Content) 3.เทคโนโลยี (Technology) 4.ข้อมูล (Data) และ 5.การกำกับดูแล (Governance) ยังไม่รวมการเข้าถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงทักษะการสอนและทักษะการเรียนรู้ ไม่ได้มีทั่วถึงทุกโรงเรียนหรือผู้เรียนทุกคน


การจัดการศึกษาตามวิถีใหม่ (New Normal) เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดครั้งใหญ่ที่ต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์  ระบบการเรียนออนไลน์จะต้องยืดหยุ่นขึ้น เพื่อพร้อมรับมือหรือปรับเปลี่ยนไปตามสภาพปัญหาหรือตามความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการศึกษาที่ปรับเปลี่ยน เพื่อสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาให้รองรับกับพฤติกรรมของผู้เรียนและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ทันท่วงทีและสร้างระบบการศึกษาไทยให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ราชาพล ธ. (2024). ระบบนิเวศการเรียนรู้ของนักเรียนกับภาวะความพร้อมการศึกษาไทย. วารสารนวัตกรรมสังคมและเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, 7(2), 119–127. https://doi.org/10.14456/jsmt.2024.19
บท
บทความวิชาการ

References

จันทร์เพ็ญ รัชตาธิวัฒน์. (2548). การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยศึกษาเฉพาะกรณี: มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองดูแลเด็กก่อนวัยเรียนในช่วงเวลาที่ไม่มีผู้ดูแล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทีเคพาร์คออนไลน์. (2563, 10 พฤศจิกายน). สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อรับมือโลกแห่งอนาคต.https://www.tkpark.or.th/tha/blog_detail/1606707624313

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2563). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. วารสารวิชาการ Viridian E-Journal SU. 4(1), 652-666.

พริษฐ์ วัชรสินธุ และ ธีรศักดิ์ จิระตราชู. (2564, 25 สิงหาคม). วิบากกรรมระบบการศึกษาไทย สู่ข้อเสนอ 6 มาตรการ (6 Re’s) เพื่อหาทางออกร่วมกันในช่วงโควิด. โควิดโพลิซีแล็ป. https://workpointtoday.com/covid-policy-lab-education/.

ภานุวัฒน์ สัจจะวิริยะกุล. (2564, 15 พฤศจิกายน). ปรับนิด สะกิดหน่อย เสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning). Nudge Thailand.

ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2564, 2 กรกฎาคม). โรคใหม่ สร้าง โลกแห่งการเรียนรู้ใหม่ : อนาคตการศึกษาไทยยุคหลัง COVID-19. https://www.the101.world/public-forum-thai-education-after-covid19/.

คอลัมน์การศึกษา. (20 สิงหาคม 2564). เช็กผลกระทบเรียน ‘ออนไลน์’?? เสียงสะท้อนจาก’พ่อแม่’ ถึง ‘รัฐบาล’. มติชนสุดสัปดาห์. 3.

วิทัศน์ ฝักเจริญผล และคณะ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส COVID-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(1), 25-33.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). บทความสรุปข้อดีข้อเสียการเรียนออนไลน์ดีหรือไม่ อย่างไร. วารสารราชพฤกษ์, 16(3), 32-54.

สฤณี อาชวานันทกุล. (2564, 2 กรกฎาคม). โรคใหม่ สร้าง โลกแห่งการเรียนรู้ใหม่ : อนาคตการศึกษาไทยยุคหลัง COVID-19. https://www.the101.world/public-forum-thai-education-after-covid19/.

สมสิริ รุ่งอมรรัตน์. (2564, 2 กรกฎาคม). พ่อแม่ ผู้ปกครอง : ปัจจัยสู่ความสำเร็จการเรียนออนไลน์ในช่วง Covid-19. ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/qol/detail/9640000086254

อรรถพล อนันตวรสกุล. (2564, 26 ตุลาคม). การศึกษาออนไลน์ เรียนรู้-สู้วิกฤต (โควิด-19) สู่อนาคต. https://phichit.org/web/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%.