การเรียนรู้แบบกำกับตนเอง ความสัมพันธ์ในครอบครัว และความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคกับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค และพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษาที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ แบบกำกับตนเองกับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ ในครอบครัวกับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา และ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถ ในการฟันฝ่าอุปสรรคกับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 369 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนอาชีวศึกษามีการเรียนรู้แบบกำกับตนเองในระดับสูง มีความสัมพันธ์ในครอบครัวในระดับสูง มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคในระดับสูง และมีพฤติกรรมการเรียนในระดับสูง 2) นักเรียนอาชีวศึกษาที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สาขาวิชา ชั้นปีที่ต่างกันมีพฤติกรรมการเรียนที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 3) การเรียนรู้แบบกำกับตนเองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 4) ความสัมพันธ์ในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 5) ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนนายเรืออากาศฯ และคณาจารย์ท่านอื่น ๆในโรงเรียนนายเรืออากาศฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบขององค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่เพียงผู้เดียว
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, 2561.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, รายงานการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 - 2583 (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ, 2562.
ภัทรพร พงศาปรมัตถ์, “พฤติกรรมการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตในรายวิชาการภาษีอากร 2,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 41, ฉบับที่ 1, 2561. หน้า 75-86.
Weinstein, C. E., D. R. Palmer, and T. W. Acee, LASSI User’s Manual: Learning and Study Skills Inventory (3rd Edition). Clearwater, FL: H&H Publishing, Inc, 2016.
ศิวะพร ภู่พันธ์, ปัจจัยที่เป็นสาเหตุและผลของความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา, สุขวิทยาจิต. กรุงเทพฯ: วี พริ้นท์, 2555.
ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์, AQ พลังแห่งความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์, 2551.
สรรกมล กรนุ่ม และพรทิพย์ วชิรดิลก, “การเปลี่ยนแปลงของครอบครัวที่รับบริการครอบครัวบำบัดตามแนวคิดแซทเทียร์ : กรณีบุตรวัยรุ่นมีพฤติกรรมต่อต้าน,” วารสารพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 22, ฉบับที่ 1, 2559. หน้า 109-121.
Guglielmino, L. M, Development of the self – directed learning readiness scale. Doctoral Dissertation University of Georgia, 1977.
Crandall, R. C, Gerontology: A Behavioral Science Approach. London: Addison-Wesley Publishing Company, 1980.
Stoltz, P. G, Adversity Quotient: Turning Obstacles into Opportunities. New York: John Wiley & Sons Inc, 1997.
Brockett, G. and Hiemstra, R, Self-direction in Adult Learning: Perspectives on theory, research and practice. London: Routledge, 1991.
มณฑิรา จารุเพ็ง, จิตวิทยาครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น, 2560.
Bandura, A, Self – efficacy : The exercise of control. New York: W.H. Freeman. and company, 1997.
ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา และธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ, “การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนที่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครปฐม,” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, ปีที่ 14, ฉบับที่ 2, 2553. หน้า 126-139.
อรพิณ ศิริสัมพันธ์, การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550.
อนุชา โสมาบุตร, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) (Online), 2556. Available: https://teacherweekly.wordpress.com/2013/09/25/constructivist-theory/, (31 พฤษภาคม 2563)
สุจินดา ประเสริฐ, ผลของการพัฒนาแรงจูงใจภายในในการเรียนรู้และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2554.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์, จิตวิทยาครอบครัว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2540.
ธนะสิทธิ์ ม่วงแก้ว, การศึกษาพฤติกรรมการเรียน ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ และความฉลาดทางสติปัญญา ที่มีผลต่อระดับผลการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2554.